วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

40 นาที บน BTS

BTS
บทความนี้จะขอนอกเรื่องดาราศาสตร์หน่อยนะครับ เพราะว่าได้พบกับเหตุการณ์หนึ่งมา จึงอยากเผยแพร่ให้รับรู้

ประมาณ บ่าย 2 ครึ่งรถไฟฟ้าขบวนที่ผมนั่งมาจากสถานีสยามก็จอดหยุดนิ่ง ณ ขานชาลา 9¾ -_" พระโขนงต่างหาก lolz ผมก็รอตั้งนานว่า เอ๊ะ ทำไมไม่ไปซะที กูรีบเข้าใจม้ายยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยย? ผมก็รอจนมีประกาศว่าเกิดความผิดพลาดบนสายสุขุมวิท เออ ทำไมต้องมาเป็นที่กรูว์ด้วย    -[]-)/ แต่ผมก็มองโลกในแง่บวก ก็คิดว่า เออ นานๆทีติดบน BTS ก็ดีเหมือนกัน ที่จริงก็ไม่ได้รีบอะไรหรอก lolz จากนั้น อ๊ะก็นั่งรอแล้วกัน รอสักพักก็มีประกาศว่าเกิดความผิดพลาดที่อ่อนนุช แล้วรถจะมาทุกๆ 15 นาที เออ เร็วเหมือนกันแฮะ พอรอไปอีก 15 นาที ก็ประกาศอีกว่า

วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เตรียมพบ E-Book Darasart


บล็อกดาราศาสตร์เตรียมที่จะเปิดให้บริการ E-Books โดยช่วงแรกจะนำเป็นบทความแบบอัปเดตเอง ส่วนภายหลังจะพัฒนาเป็นอัปเดตอัตโนมัติ โดยท่านสามารถติดตามรายชื่อ E-books และ ดาวน์โหลด E-books ได้ทางป้ายกำกับ E-book

ซูเปอร์โนวาแบบใหม่ สว่างกว่าแบบอื่น 10 เท่า


ซูเปอร์โนวาชนิดใหม่
สามในหกดวงที่ค้นพบ
ทางซ้ายคือภาพก่อนการระเบิด
ทางขวาคือภาพหลังการระเบิด
นักดาราศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย ได้ค้นพบซูเปอร์โนวาชนิดใหม่ ที่มีความสว่างกว่าซูเปอร์โนวาทั่วไปถึง 10 เท่า
ย้อนหลังไปเมื่อปี 2550 รอเบิร์ต ควิมบี จากมหาวิทยาลัยเทกซัส ณ ออสติน ได้ค้นพบซูเปอร์โนวาดวงหนึ่ง มีความส่องสว่างกว่าดวงอาทิตย์ถึงหนึ่งแสนล้านเท่า และส่องสว่างกว่าซูเปอร์โนวาทั่วไป 10 เท่า ต่อมาได้ชื่อว่า 2005 เอพี (2005AP) ไม่เพียงแต่ความสว่างที่ผิดปกติแล้ว เมื่อศึกษาสเปกตรัมของซูเปอร์โนวานี้ยังพบความน่าพิศวงยิ่งกว่า เพราะไม่ปรากฏว่ามีร่องรอยของไฮโดรเจนอยู่เลย ทั้งที่ไฮโดรเจนเป็นธาตุที่ปกติมีอยู่มากมายในซูเปอร์โนวาเกือบทั้งหมด

วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เชิญร่วมกิจกรรมเดือนกรกฎาคม 2554 ของสมาคมดาราศาสตร์ไทย

กิจกรรมบรรยายพิเศษ เดือนกรกฎาคม 2554
วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม 2554
เรื่องหอดูดาวแปลก ๆ ในโลก และ เล่าข่าวดาราศาสตร์
ถ้าจะพูดถึงกล้องโทรทรรศน์และหอดูดาวที่มีอยู่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบันนี้ กล้องโทรทรรศน์ได้ถูกประดิษฐ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1609 (พ.ศ. 2152) โดย Galileo Galilei นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี เป็นบุคคลแรกของโลก ตั้งแต่นั้นมากล้องโทรทรรศน์ ได้ถูกพัฒนาด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้น นักดาราศาสตร์ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ศึกษาวิจัยดวงดาวในห้วงอวกาศที่ไกลโพ้นในหอดูดาว ไปจนถึงกล้องโทรทรรศน์ที่ถูกส่งออกไปลอยอยู่ในวงโคจรของโลกด้วย การบรรยายครั้งนี้เรามารู้จักหอดูดาวแปลก ๆ ที่มีอยู่ในโลกเขาใช้ศึกษาอะไร มีประเภทอะไรบ้าง และติดตามข่าวดาราศาสตร์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
ซึ่งครั้งนี้ผมจะไปเล่าข่าวครับ ^^

วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

พระมหากษัตริย์สยามกับดาราศาสตร์:สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (๒๑๗๕-๒๒๓๑)
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสรรเพชญ (พ.ศ. 2175 - พ.ศ. 2231 ครองราชย์ พ.ศ. 2199 - พ.ศ. 2231) พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 27 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่สำคัญบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของชาติไทยย้อนอดีตไปได้ประมาณกว่า 300 ปี สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้มีคณะราชทูตจากฝรั่งเศส อัญเชิญพระราชสาส์นของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มาถวายแด่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในปีพุทธศักราช 2228

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

จุดจบของโลก!

โลก ดาวเคราะห์ที่เราอาศัยอยู่ จะมีจุดจบหรือไม่?
ตามกระแสที่แสนมาแรง กระแสวันสิ้นโลก ผมกล้ายืนยันว่าโลกจะมีจุดจบอย่างแน่นอน แต่...จะจบยังไงหล่ะ?
  1. 2012
         เลิกคิดได้เลย เพราะว่า 2012 เป็นแค่หนึ่งในปฏิทินมายาซึ่งมีหลายแบบ แบบหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับปี ค.ศ. 2012 คือแบบที่เรียกกันว่า ปฏิทินรอบยาว (long count) ระบุวันด้วยชุดของตัวเลข ตัวเลขชุดนี้แทนวันที่ได้ยาวนาน 5,126 ปี เทียบกับวันที่ตามระบบปฏิทินสากลตั้งแต่ วันที่ 11 สิงหาคม 3114 ปีก่อนคริสต์กาลไปจนสุดจำนวนเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 2012
  2. มหาพายุสุริยะ
         อันนี้ก็มาจากกระแส 2012 ซึ่งพายุสุริยะเกิดขึ้นบ่อย แต่ส่วนใหญ่ไม่มีทิศทางมาทางโลก และถ้ามีเราก็ยังมีเกราะคือสนามแม่เหล็กโลกปกป้องอยู่ สำหรับผลกระทบจากพายุสุริยะ

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ดาราศาสตร์คืออะไร?

มีคนหลายคนได้ถามและดูถูกส่าเรียนดาราศาสตร์เรียนไปแล้วได้อะไร? เรียนแล้วทำอะไร? เรียนแล้ว.....???
ซึ่งเป็นคำถามที่ดูถูกมาก อ.อารี  สวัสดี  นายกสมาคมดาราศาสตร์ไทย และคณะกรรมการบริหารสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติได้เคยกล่าวไว้ว่า
ดาราศาสตร์เป็นวิชาแห่งมวลมนุษยชาติ

วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สัญลักษณ์ทางดาราศาสตร์

โปรดติดตั้งฟอนต์ Symbola ก่อน (Download!)

สีเขียว = นิยม | สีเหลือง = มีใช้บ้าง | สีแดง = ไม่นิยม

ชื่อ
สัญลักษณ์
ความหมาย
หมายเหตุ
ดวงอาทิตย์
ดวงอาทิคย์
ดวงอาทิตย์กับรังสี
หน้าของดวงอาทิตย์
ดาวพุธ
หมวกปีกและคทาของเทพเมอร์คิวรี
ดาวศุกร์
กระจกมือของเทพีวีนัส

วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ความสามารถในการแสดงความคิดเห็นของบล็อก!

บล็อกนี้มี Feature ใหม่คือใส่ลิงก์เชื่อมโยงไปยังทวิตเตอร์ของคุณได้ เพียงแค่ใส่ @ชื่อผู้ใช้ทวิตเตอร์ของคุณ เท่านี้ก็จะมีหน้าต่างเล็กๆขึ้นมา แสดงรายละเอียดของบัญชีคุณ พร้อมปุ่ม Follow
และในการแสดงความคิดเห็น ถ้าอยากให้ระบบลิงก์ไปยังทวิตเตอร์ของคุณกรุณาเลือก ชื่อ/URL และกรอกเฉพาะ ชื่อ ด้วย @ชื่อผู้ใช้ทวิตเตอร์ของคุณ โดยถ้าหากคุณกรอก URL ด้วย การใช้งานจะใช้ไม่ได้  
ลองดูสิ!!! 
ชี้เมาส์ --> @Twitter

ดาวแปลกพวกสีน้ำเงินในใจกลางทางช้างเผือก

นักวิทยาศาสตร์ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลค้นพบดาวแปลกพวกสีน้ำเงินอยู่บริเวณใจกลางดาราจักรทางช้างเผือกเป็นครั้งแรก
ดาวฤกษ์ประเภทที่เรียกว่า "ดาวแปลกพวกสีน้ำเงิน" (blue straggler) มีชื่อพิลึกเช่นนี้เนื่องจากสมบัติที่ทำให้ดูเหมือนอายุน้อย ต่างจากดาวดวงอื่น ๆ ที่กำเนิดมาพร้อม ๆ กัน บางครั้งจึงมองได้ว่าเป็น "ดาวนอกคอก" นักดาราศาสตร์พบดาวประเภทนี้มาแล้วตามกระจุกดาวทรงกลมหลายแห่ง แต่นี่เป็นครั้งแรกที่พบบริเวณใกล้แก่นของดาราจักรทางช้างเผือก

ต้นกำเนิดของดาวแปลกพวกสีน้ำเงินยังไม่ทราบแน่ชัด ทฤษฎีที่ยอมรับกันโดยทั่วไปอธิบายว่า ดาวประเภทนี้เกิดมาจากดาวคู่ เมื่อสมาชิกของดาวคู่ที่มวลมากกว่าวิวัฒน์นำหน้าดวงที่มวลต่ำกว่าและเริ่มขยายออก จะถ่ายเทมวลบางส่วนไปให้ดวงที่มวลต่ำกว่า กระบวนการนี้ ได้เติมเชื้อเพลิงและทำให้ดาวที่กำลังใหญ่ขึ้นเร่งปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน ดาวจึงร้อนขึ้นและเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเหมือนกับดาวอายุน้อยมวลสูง

วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ใบสมัครสอวน.ดาราศาสตร์(จุฬาฯ)มาแล้ว

ใบสมัครสอวน.ดาราศาสตร์(จุฬาฯ)มาแล้ว สามารถดาวน์โหลดโดยคลิกรูปภาพข้างล่าง
หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้กรุณาดูที่ 

5 อันดับบทความยอดนิยมตลอดกาล