วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ซักนิด กับวันสิ้นโลก

มาดูคลิปกันก่อนครับ


ฟังไปขำไปครับ ^^

เราเคยพูดถึงเรื่อง 2012 กันรอบหนึ่งแล้ว รอบนั้นผมลอกคนอื่นมาพอสมควรครับ เลยอ่านยากส๋์ไปหน่อย = = วันนี้ผมเห็นคลิปด้านบนแล้วอยากทำท่าอย่างนี้เลยครับ
เอาละ 2011 ก็แล้ว 2012 ก็อีก มันก็ไป 2013 โอยจะแตกกันทุกปีเลยหรือครับ?
จากคลิปนี้ ทางช่อง DNN อ้างถึงวิศวกรอาวุโสชาวไทยที่ทำงานที่นาซา และได้รับรางวัลวิศวกรดีเด่นด้วย!! ถ้าคำกล่าวอ้างนี้เป็นจริง ผมอยากประณามตาวิศวกรนั่นมากเลยครับ = =
มาถึงอันแรกที่เขาบอกว่า(ขอข้ามเรื่องศาสนาไปนะครับ) เกิดความวิปริตทั้งสภาพอากาศต่างๆ นานา บลาๆๆๆ อันนี้จริงครับ จริงมากๆด้วย แต่ทำไมละ? ก็มนุษย์นั่นแหละครับ ที่ก่อความวิปริต มนุษย์ตัดไม้ ทำลายป่า ฆ่ากันเอง โอยสารพัดครับ

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เว็บใหม่จ้า


ในที่สุดเว็บไซต์ก็เสร็จจนได้! โดยเว็บของเราจะอยู่ที่ http://darasart.info/wiki โดยเป็นรูปแบบวิกินะครับ ทุกคนสามารถแก้ไขได้ (ทำคนเดียวไม่ไหว Orz) ก็สำหรับบล็อกนี้ก็จะใช้เป็นแหล่งประกาศต่างๆ เช่น รุ่นใหม่ของเว็บ/ปรากฏการณ์ หรือรายงานกิจกรรมพวกนี้อะครับ ก็ฝากเว็บใหม่ด้วยนะครับ อาจจะอ่านยากหน่อยเป็นวิชาการ แต่ก็เพื่อการอ้างอิงครับ ^^

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

จันทรุปราคา 10 ธันวาคม 2554


หลังจากหายไปนาน เราก็กลับมาแล้วครับ ^^ ส่วนเว็บที่กำลังทำอยู่นั้นก็ใกล้เสร็จแล้ว เปิดได้ก่อน จันทรุปราคา 10 ธันวา แน่นอนครับ! :)
จันทรุปราคา 10 ธันวามีรายละเอียดดังนี้

  1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก 18:33:33 น.
  2. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน  19:45:42 น.
  3. เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง  21:06:16 น.
  4. กึ่งกลางของปรากฏการณ์ 21:31:49 น.
  5. สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง  21:57:24 น.
  6. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน  23:17:59 น.
  7. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก 00:30:00 น.
ดูอย่างไร?

  1. ตา 2 ข้าง
  2. การดูจันทรุปราคาด้วยตาเป็นสิ่งที่สวยที่สุด
  3. มีกล้องส่องนก/กล้องสองตา ก็ส่องขึ้นฟ้าสิ!
  4. ถ่ายรูปไว้ เป็นที่ระลึก!
  5. การถ่ายรูปปรากฏการณ์นี้ เป็นปรากฏการณ์ที่หายาก ดังนั้นควรจะถ่ายภาพเก็บไว้ ซึ่งการถ่ายภาพไม่จำเป็นต้องมีกล้อง DSLR ราคาเหยียบแสน เอากล้อง Digital Compact ธรรมด๊า ธรรมดานี่แหละ เล็ง-โฟกัส-แชะ! แค่นี้ก็ได้รูปแล้ว!!!
  6. สำหรับท่านที่ดูไม่ได้ เช่น ติดงาน ฯลฯ ก็สามารถรับชมการถ่ายทอดสดได้ที่ live.darasart.info
ถ้าท่านใดต้องการทรรศนูปกรณ์ในการสังเกตเพิ่มเติมสามารถสั่งซื้อได้จากร้านค้าของเว็บได้เลยครับ ^^ ราคาย่อมเยามากๆ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://market.darasart.info/

วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บทเพลงจากฟากฟ้า - เดอะ พลาเน็ตส์

หลังจากบทความบทเพลงดาราศาสตร์ที่ได้นำเสนอเพลง ดาวพฤหัสบดี, ผู้นำมาซึ่งความรื่นรมย์ (Jupiter, the Bringer of Jollity) นั้น วันนี้ก็จะนำเพลงในชุดเดียวกับ Jupiter มาให้ฟังกัน
เรามาทำความรู้จักกับผู้แต่งเพลงกันก่อน
บทความที่นำมานี้ผมเขียนขึ้นที่วิกิพีเดียและผมนำมาใช้คงไม่ผิดลิขสิทธิ์นะครับ


     กุสตาฟ โฮลส์ (Gustav Holst) (21 กันยายน ค.ศ. 1874 – 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1934) เป็นนักดนตรีชาวอังกฤษ โดยโอสต์โด่งดังจากเพลงตับ เดอะ พลาเนตส์ โฮสต์เรียนใน Royal College of Music ในกรุงลอนดอน โดยเขาได้แรงจูงใจจาก Grieg, Wagner, Richard Strauss และ Ralph Vaughan Williams ชื่อเต็มของโฮลส์คือ Gustavus Theodor von Holst แต่เขาได้ตัด "von" จากชื่อของเขาเพื่อตอบสนองการต่อต้านเยอรมันในอังกฤษระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 และทำให้เป็นทางการในพินัยกรรมเมื่อปี ค.ศ. 1918
     ประวัติ 
     โฮลส์เกิดในวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1874 ที่บ้านเลขที่ 4 Pittville Terrace (ชื่อในปัจจุบัน:Clarence Road) เมืองเชลันแฮม กลอสเตอร์เชอร์ ประเทศอังกฤษ บ้านของเขาได้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ ในปี ค.ศ. 1974
   ผลงาน
     ผลงานที่ทำให้โฮลส์โด่งดังคือ เดอะ พลาเนตส์ ซึ่งเป็นเพลงตับ มีทั้งหมด 7 เพลงด้วยกันประกอบไปด้วยดาวเคราะห์ 7 ดวงได้แก่ ดาวพุธ, ดาวศุกร์, ดาวอังคาร, ดาวพฤหัสบดี, ดาวเสาร์, ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ซึ่งมีการเรียงลำดับดังนี้

วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ดาวอะไรสว่างที่สุด?


หลังจากหายไปนาน ต้องขออภัยด้วยครับเนื่องจากติดสอวน. เลยแทบไม่มีเวลาเขียน
วันนี้เราจะมาดูกันว่าดาวอะไรสว่างที่สุด ก่อนอื่นปูพื้นกันหน่อย
Magnitude [โชติมาตร] ในบทความนี้จะใช้แบบโชติมาตรสัมบูรณ์ทุกความยาวคลื่น [Absolute Bolometric Magnitude] ซึ่งก็คือโชติมาตรของดาวที่ระยะห่างสมมติ (10 parsec) โดยคิดทุกความยาวคลื่น

ในบทความนี้จะขอแค่ 10 ดวงพอนะครับ ถ้าสนใจเพิ่มเติมดูได้ที่ List of most luminous stars

  1. R136a1 (in LMC)
    โชติมาตรสัมบูรณ์ทุกความยาวคลื่น : −12.5
  2. Cygnus OB2-12
    โชติมาตรสัมบูรณ์ทุกความยาวคลื่น : −12.2
  3. HD 93129A
    โชติมาตรสัมบูรณ์ทุกความยาวคลื่น : −12.1
  4. η Car
    โชติมาตรสัมบูรณ์ทุกความยาวคลื่น : −12.0 
  5. LBV 1806-20 (Middle Model) 
    โชติมาตรสัมบูรณ์ทุกความยาวคลื่น : −12.0
  6. QPM-241
    โชติมาตรสัมบูรณ์ทุกความยาวคลื่น :  −11.9
  7. Pismis 24-1
    โชติมาตรสัมบูรณ์ทุกความยาวคลื่น : −11.8
  8. WR 101e
    โชติมาตรสัมบูรณ์ทุกความยาวคลื่น : −11.6
  9. WR 102ka
    โชติมาตรสัมบูรณ์ทุกความยาวคลื่น :  −11.6
  10. HD 5980
    โชติมาตรสัมบูรณ์ทุกความยาวคลื่น : −11.5
แล้วทำไมเราไม่เห็นดาวเหล่านี้หล่ะ?
เพราะว่ามันอยู่ไกลครับ ที่เราเห็นมันคือโชติมาตรปรากฏ [Apparent Magnitude]
ซึ่งต่อให้ดาวมีความสว่างแค่ไหนแต่ถ้าอยู่ไกล โชติมาตรปรากฏก็จะน้อยครับ
ตัวอย่าง ดวงอาทิตย์ ถ้าบนโลกเราเห็น -26 กว่าๆ ถ้าไปอยู่ที่ระยะ 10 parsec ซึ่งก็คือความสว่างสัมบูรณ์ จะเหลือแค่ 4

วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554

มอบกำลังใจให้ผู้ประสบอุทกภัย


ทางเว็บดาราศาสตร์ก็ขอมอบกำลังใจให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วมด้วยภาพ'เนบิวลาดอกกุหลาบ'สวยๆ ครับ
เพื่อให้มีกำลังใจในการต่อสู้ต่อไปครับ

▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬(۩۞۩)▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬­­­­­­­­­▬
ขอบคุณภาพจาก http://apod.nasa.gov
▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬(۩۞۩)▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬­­­­­­­­­▬

น้ำท่วมทำอะไรดี?


หลายท่านคงเจอกับวิกฤตการณ์น้ำท่วมนะครับ
ก็ขอเป็นกำลังใจให้

แล้วน้ำท่วมอยู่จะทำอะไรดีละ?
มีกิจกรรมบางอย่างครับที่เหมาะกับเวลานี้และได้ความรู้ด้วย
ถ้าเอาแต่นั่งเครียดจะได้อะไร? มาทำกิจกรรมกันเถอะ

อันแรกครับ ผมเพิ่งนึกออก มันคือปรากฏการณ์ดอพเพลอร์ [Doppler effect]
คือมันเป็นการหาค่าการเลื่อนทางแดง/ทางน้ำเงินนั่นเอง

หลายคนจะจำๆ เอาว่าทำไมมันเลื่อนไปทางแดงก็คือวิ่งหนี้ ส่วนทางน้ำเงินก็วิ่งหา
มันจำเกินไป เราไม่เอา มันไม่เข้าใจ

ภาพขวาครับ ภาพเป็ดหรือห่านหรือหงส์หรือ-่าอะไรผมก็ไม่แน่ใจ :)
เห็นไหมครับว่าคลื่นตรงข้างหน้ามันจะบีบอัดเข้ามา
ซึ่งมันอธิบายได้ง่ายๆคือว่า
ณ เวลาที่ 1 วัตถุปล่อยคลื่นออกมาปุ๊บ คลื่นก็จะยังเป็นวงกลม
พอ เวลาที่ 2 วัตถุเคลื่อนที่แล้วก็ปล่อยคลื่นมันก็จะใกล้กับขอบอันแรกมากขึ้น
อ่านแล้วงงใช่ไหมครับ?
มาดูวิดีโอกัน

วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ปรับปรุงบล็อกใหม่


หลายๆท่านที่เข้ามาดูอาจจะเห็นหน้าเว็บเปลี่ยนไป
เพราะติดเครื่องมือ+โฆษณาอาจจะทำให้เกะกะตาบ้าง
ต้องขออภัยครับ

เพราะทางบล็อกกำลังหาทุนเพื่อจะเช่าเซิร์ฟเวอร์เพื่อจะทำเป็นเว็บไซต์อย่างครบวงจรต่อไป(อ่านได้ที่นี่)

ซึ่งหากท่านใดมีข้อเสนอแนะใดๆก็แนะนำมาได้ครับ แล้วก็ถ้าเราสามารถเช่าเซิร์ฟเวอร์ได้แล้วโฆษณาก็จะไม่รกหูรกตาทุกท่านอีกแล้วครับ :)

วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ตารางอบรมสอวน.ดาราศาสตร์จุฬาฯ


ตารางอบรมสอวน.
ดาราศาสตร์ จุฬาฯ
ม.ต้น
10 ปฐมนิเทศ และคณิตศาสตร์พื้นฐาน
11-12 ดาราศาสตร์ทรงกลม
13-14 ดาราฟิสิกส์
15-16 ดาวเคราะห์และการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์

ม.ปลาย
10 ปฐมนิเทศ และคณิตศาสตร์พื้นฐาน
11-12 ดาราฟิสิกส์
13-14 ดาราศาสตร์ทรงกลม
15-16 CM and cosmo

วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ประกาศผลสอวน.ดาราศาสตร์ ศูนย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2554


ประกาศผลสอวน.
วิชา ดาราศาสตร์
ศูนย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประจำปี 2554
เข้าค่าย+ปฐมนิเทศ วันที่ 10 ตุลาคม 2554


สามารถตรวจสอบรายชื่อได้ที่
https://docs.google.com/viewer?a=v&pid=explorer&chrome=true&srcid=0BxmbG5DME8K7NTkxZDkwZWMtODgzZC00NmJmLWEyNzctNzllZDUyNzIwNGQx&hl=en&pli=1


ตรวจสอบเพื่อความแน่ใจได้ที่
Facebook CU Astro Club


วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2554

[ทิป] สร้างภาพสุริยุปราคาด้วยตนเอง


ภาพสุริยุปราคาบนหัวเว็บ หลายคนอาจนึกว่าเป็นภาพถ่ายจริง

แต่ผมทำจาก Photoshop ครับ!

ถ้าใครอยากทำบ้างก็ดูวิดีโอด้านล่างได้เลยครับ
ใช้เวลาประมาณ 3 - 4 นาทีเท่านั้นเอง!!!

ลองทำแล้วมาอวดกันนะครับ!

วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554

คืบหน้าสอวน.ใหม่


รอนานมากไหมครับกับสอวน.ดาราศาสตร์ศูนย์จุฬาฯ
นานมวากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก
เนื่องจากอาจารย์ท่านหนึ่งป่วยครับ ส่วนอีก 2 ท่านเสร็จแล้ว
คาดว่าคงเสร็จในอีก 2-3 วันครับ

หากว่าประกาศผลแล้ว ทางเว็บจะประกาศเป็นแห่งแรกๆ เลยครับ!

Orz

วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

โลกเป็นศูนย์กลางผิดหรือถูก?


เรามาดูคลิปๆหนึ่งกันก่อนครับ 
หากวิดีโอมันไม่เริ่มที่เวลา 0:57 ให้โปรดเลื่อนไปเริ่มที่ 0:57 ครับ

จากวิดีโอนี้เขาได้พูดไว้ว่า
...เมื่อก่อนมีความเชื่อของคริสตจักรว่า โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ซึ่งเป็นความคิดที่โง่เง่าเต่าตุ่นมาก...
ทุกท่านครับ ความคิดที่โลกเป็นศูนย์กลาง [Geocentric] โง่เง่าหรือครับ?
ไม่ครับ ไม่อย่างมากด้วย
ถ้าท่านใดติดตามผลงานของผมมาอย่างต่อเนื่องจะพบว่าบทความ 

[อธิบาย] ภาพเส้นกลมๆ รอบๆ ฟ้า คืออะไร?

ผมได้เขียนไว้ว่า

อันดับแรก เรารู้ว่า โลกหมุน ครับ โลกหมุน พอโลกหมุน ดาวก็โคจรไปรอบๆ ท้องฟ้าทีนี้เพื่อให้เป็นการง่ายต่อการอธิบาย เราจึงยึดหลักการว่า โลก อยู่นิ่ง ส่วน ท้องฟ้าโคจรรอบโลกก็แล้วกันอ๊ะๆ หลายคงคงคิดอยู่ในใจว่า ผิด ใช่ไหมล่ะคร้าบบบบบบ? :)ไม่ครับอันนี้ไม่ผิด เพราะเป็นวิธีการมองแบบหนึ่ง คือ โลกเป็นศูนย์กลาง ส่วนอีกแบบคือ ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง
ครับการมองโลกเป็นศูนย์กลางไม่ได้ผิดครับ
แค่วิทยาการสมัยนั้นยังไม่พอ
สมัยนั้นยังไม่มีดาวเทียม ยังไม่มียานอวกาศ
คิดได้แค่นั้นก็สุดยอดแล้ว!
ถ้าคิดว่าคนโบราณคิดโง่เง่าเต่าตุ่นจริง ทำไมแบบจำลองทรงกลมของดอลตันไม่โง่กว่าหรือ?
ของรัทเทอร์ฟอร์ดไม่โง่กว่าหรือ?
ไม่โง่! เพราะเครื่องมือไม่พอ
ผมถามหน่อยครับ ท่านที่อยู่ในคลิป ถ้าท่านเป็นคนสมัยก่อนท่านจะคิดว่าไง?
แน่นอน โลกเป็นศูนย์กลาง!!! ผมเชื่อว่าเขาไม่มีปัญญาพอที่จะคิดได้ด้วยตนเองหรอกว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง
ซึ่งคลิปนี้ผมเตยได้แจ้งเขาไปครั้งหนึ่งว่า คุณพูดผิด มันไม่ได้โง่เง่าเต่าตุ่น
แต่..เขาเป็นคนรับความจริงไม่ได้! เขาก็มาลบคอมเมนต์ผมไป!!!
ครับ แค่นี้รับความจริงไม่ได้?

เอ้าบ่นไปละ เสียพื้นที่เปล่าๆ
ทีนี้เรามาดูกันดีกว่าว่าโลกเป็นศูนย์กลางผิดไหม? และทำอะไรได้บ้าง?

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

นาซาริงโทน


ริงโทนจากเพลงประกอบภาพยนตร์หรือ?
เชยไปแล้ว!

นาซาเปิดให้ดาวน์โหลดริงโทนจากอวกาศ!
มีทั้งเสียงนับตอนปล่อยจรวด
เสียงนีล อาร์มสตรอง
และเสียง ฮูสตัน เรามีปัญหา! [Apollo 13]
และอื่นๆ อีกมากมาย

รองรับทั้ง
2G, 3G, 4G phone
iPhone
Android
BB

ดาวน์โหลดและฟังได้ที่ http://www.nasa.gov/connect/sounds/

UARS ตกแล้ว

หลังจากที่มีข่าวเรื่อง UARS กันพักใหญ่
ในที่สุด UARS ก็ได้ตกลงสู่โลกแล้ว และได้รับการยืนยันโดยนาซา

การตกครั้งนี้ลงสู่โลกครั้งนี้ได้ตกลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก บริเวณนอกชายฝั่งอลาสกา
การตกครั้งนี้ผิดจากความคาดหมายที่คากว่าจะตกในประเทศออสเตรเลียหรือบนบก
ซึ่งก็นับว่าเป็นความโชคดีอย่างยิ่งที่ดาวเทียมตกลงสู่มหาสมุทร

แถลงการณ์ของนาซา
Sat, 24 Sep 2011 02:46:42 PM GMT+0700
NASA’s decommissioned Upper Atmosphere Research Satellite fell back to Earth between 11:23 p.m. EDT Friday, Sept. 23 and 1:09 a.m. EDT Sept. 24. The Joint Space Operations Center at Vandenberg Air Force Base in California said the satellite penetrated the atmosphere over the Pacific Ocean. The precise re-entry time and location are not yet known with certainty.
 

#UARS Live!





ภาพถ่าย UARS

วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

[รายงาน] ความคืบหน้า สอวน. ดาราศาสตร์


หลายๆ คนคงลุ่นกับผลสอวน. ดาราศาสตร์ ศูนย์จุฬาฯ ผมก็จะนำความคืบหน้ามาบอกกันครับ
FAIL

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

[พิเศษ] ดาวเทียมยูอาร์ส (UARS) จะตกลงสู่โลก [อัปเดตอีกรอบ]


โปรดอย่าตกใจ!

    วรเชษฐ์ บุญปลอด - สมาคมดาราศาสตร์ไทย
คัดลอกจาก http://thaiastro.nectec.or.th/news/2011/special/uars.html
อัปเดตใหม่ล่าสุด 23/9/2554!!!
ดาวเทียมยูอาร์ส
เทียบกับความสูงของมนุษย์โดยประมาณ
(ภาพดาวเทียมจาก NASA)
    ดาวเทียมขององค์การนาซาจะตกสู่โลกอย่างไร้การควบคุม คาดว่ามีชิ้นส่วนโลหะหลงเหลือกว่า 500 กิโลกรัม ตกลงสู่พื้นโลก มีโอกาสน้อยมากที่คนบนโลกจะได้รับอันตราย ขณะนี้คาดว่าอาจตกในวันที่ 22-24 กันยายน 2554 ยังไม่สามารถระบุจุดตกที่แน่นอนได้ -- บทความนี้จะปรับปรุงเป็นระยะ จนกระทั่งวันที่ดาวเทียมตก
ดาวเทียมยูอาร์ส
     ดาวเทียมวิจัยบรรยากาศชั้นบนหรือยูอาร์ส (Upper Atmosphere Research Satellite : UARS) เป็นดาวเทียมขนาด 4.5 × 11 เมตร หนัก 5.7 ตัน ที่องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา หรือองค์การนาซา ได้นำไปปล่อยในอวกาศเมื่อเดือนกันยายน 2534 โดยบรรทุกไปกับกระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรี ภารกิจคือการสำรวจบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ ดาวเทียมทำงานอยู่ในวงโคจรรอบโลกที่ความสูงประมาณ 580 กิโลเมตร หลังจากสิ้นสุดภารกิจแล้ว ปลายปี 2548 นาซาได้ใช้เชื้อเพลิงที่เหลืออยู่บนดาวเทียม ดึงดาวเทียมลงมาที่วงโคจร 360 × 510 กิโลเมตร เหนือผิวโลก เพื่อปล่อยให้ค่อย ๆ ตกลงมาด้วยแรงต้านจากชั้นบรรยากาศ
นาซาเตือนยูอาร์สใกล้ตก
     วันที่ 9 กันยายน 2554 นาซาแถลงว่าดาวเทียมยูอาร์สจะตกในปลายเดือนกันยายนหรือต้นเดือนตุลาคม 2554 โดยปราศจากการควบคุม เนื่องจากไม่เหลือเชื้อเพลิงบนดาวเทียม พร้อมระบุว่ามีโอกาส 1 ใน 3,200 หรือ 0.03% ที่ชิ้นส่วนดาวเทียมจะตกใส่คนจนก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรือล้มตาย นาซากล่าวว่าที่ผ่านมา ยังไม่เคยมีรายงานที่ยืนยันได้ว่ามนุษย์ได้รับอันตรายจากการตกของชิ้นส่วนดาวเทียมหรือขยะอวกาศอื่นๆ เว็บไซต์ของแอโรสเปซระบุว่ามีสตรีคนหนึ่งในรัฐโอคลาโฮมา โดนชิ้นส่วนจรวดขนาด 6 นิ้ว ชนเข้าที่ไหล่เมื่อปี 2540 แต่ไม่ได้รับบาดเจ็บ เนื่องจากถูกชนเบา ๆ แม้ความเสี่ยงจะต่ำมาก แต่นาซาก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ และกำลังเฝ้าติดตามดาวเทียมดวงนี้อย่างใกล้ชิด

วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

จุดลากรานจ์ คืออะไร?


จุดลากรานจ์ทั้ง 5 จุด
จุดลากรานจ์ [ลาก-กรานจ์] {Lagrangian point} คืออะไร?
ทำไมกล้องเจมส์เวบบ์ต้องไปอยู่?
จุดนั้นมีดีอะไร?
ุจุดนั้นมีที่เดียวหรือไม่?
ถ้าไปอยู่ตรงนั้นจะได้อะไร?

เราจะมาหาคำตอบกัน

จุดลากรานจ์ [ลาก-กรานจ์] คือจุดที่แรงระหว่างวัตถุมวลมาก 2 ชิ้น ทำกิริยาต่อกัน อันเป็นผลให้วัตถุมวลน้อยที่อยู่บริวณจุดลากรานจ์นั้น มีความเสถียร สามารถเคลื่อนที่โคจรไปรอบๆ วัตถุที่มีมวลมากกว่าอีกวัตถุหนึ่งได้ อย่างมีเสถียรภาพ โดยไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงใดๆ ทั้งสิ้น (ในทางทฤษฎี)
จุดลากรานจ์ในระบบสุริยะมีอยู่ทั้งหมด 5 จุด โดยมีชื่อว่า L1-5
แล้วจุดลากรานจ์แต่ละจุด อยู่ไหน?

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

เปิดบล็อกอย่างเป็นทางการ+แถ

หลังจากที่ได้ปิดปรับปรุง(?) มาเป็นเวลา 2-3 วัน ขณะนี้ก็ถึงเวลาที่สัญญาไว้แล้ว จึงขอเปิดใช้ โดเมนเนม http://www.darasart.info อย่างเป็นทางการ โดยทุกท่านสามารถเข้าบล็อกได้ทาง

แต่ในความเป็นจริง ทางบล็อกยังไม่ได้แก้ไขมาก เนื่องจากผู้เขียนแทบไม่มีเวลาในการเข้าบล็อกเลย จึงอาจมีลิงก์เก่าตกค้างบ้าง โดยเฉพาะ รหัสอ่านเร็ว [QR Code] ยังเป็นลิงก์เก่าอยู่ (http://darasart.blogspot.com/?m=1) และแบนเนอร์ของบล็อกยังเป็น  อยู่ ซึ่งทางบล็อกกำลังจะปรับปรุงตราสัญลักษณ์ โดยจะมีโลโกหลักเป็นตัวอักษรทั้งไทยและอังกฤษ คือ ตัว รวมกับ D โดยจะเปิดให้ชมและดาวน์โหลดตราสัญลักษณ์ใหม่ภายในเดือนนี้ ฉะนั้นผู้ที่แลกลิงก์กับเราจึงยังไม่ต้องเปลี่ยนลิงก์ โดยเราจะแจ้งไปยังท่านเมื่อตราสัญลักษณ์ใหม่เสร็จ 

ขอบคุณครับ
บล็อกมาสเตอร์

วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

Under construction


ขณะนี้ทางเว็บดาราศาสตร์ ได้เปลี่ยนโดเมนเนมมาเป็น http://www.darasart.info/ แล้ว แต่บทความเดิมยังไม่ได้แก้ไขลิงก์ จึงจะทำการปรับปรุงโดยมีกำหนดระยะเวลาถึงวันที่ 9 กัยายน 2554 โดยระหว่างนี้อาจมีการแสดงผลผิดพลาด จึงขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
โดยท่านยังสามารถอ่านบทความก่อนหน้านี้ได้ โดยดูที่แท็บทางด้านขวา ที่ชื่อว่า คลังบทความ

วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

[อธิบาย] ภาพเส้นกลมๆ รอบๆ ฟ้า คืออะไร?


วันนี้ผมหาภาพที่เป็นรูปดาวหมุนๆๆๆๆๆ รอบๆ ขั้วฟ้า ก็ไปเจอเว็บนี้เข้า http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1482661
ซึ่งมีภาพนึงที่เป็นรูป
ดาวตกในวงรอบขั้วฟ้าเหนือ [โอภาส ชาญมงคล] ภาพจาก สดร.
ทีนี้ก็มีความเห็นที่ 1 มาเขียนว่า 
ดาวตก ! ไม่น่าเชื่อ  เหมือนพลุที่วิ่งวนๆ กันเป็นวงกลมเลย !!
พี่แกคงไปเห็นชื่อรูปว่า  ดาวตกในวงรอบขั้วฟ้าเหนือ มั้ง?
พอเลื่อนลงมาดูเรื่อยๆ ก็มีผู้รู้มาเขียนว่า
(คห. 6) คห.1 คร๊าบ มันเป็นการเปิดหน้ากล้องทิ้งไว้นาน โดยหันกล้องไปทางดาวเหนือ ก็จะได้รูปดวงดาวต่างๆที่โคจรไปรอบๆตามการหมุนของโลก 
ผมก็เข้าใจทั้ง 2 คนนะ ว่า คนแรก แกคงไปอ่านชื่อแล้วทึกทักเอา ส่วนอีกคน ก็มาพร้อมกับความรู้

ทีนี้เรามาอธิบายเรื่องนี้กัน

อันดับแรก เรารู้ว่า โลกหมุน ครับ โลกหมุน พอโลกหมุน ดาวก็โคจรไปรอบๆ ท้องฟ้า
ทีนี้เพื่อให้เป็นการง่ายต่อการอธิบาย เราจึงยึดหลักการว่า โลก อยู่นิ่ง ส่วน ท้องฟ้า โคจรรอบโลกก็แล้วกัน
อ๊ะๆ หลายคงคงคิดอยู่ในใจว่า ผิด ใช่ไหมล่ะคร้าบบบบบบ? :)
ไม่ครับอันนี้ไม่ผิด เพราะเป็นวิธีการมองแบบหนึ่ง คือ โลกเป็นศูนย์กลาง ส่วนอีกแบบคือ ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง

ทีนี้เรามาดูกัน

ท้องฟ้าหมุนรอบโลก ดาวก็โคจรเป็นวงกลมไปรอบๆ ฟ้า ตามแกน R.A. ของมัน
แล้วทุกท่านเคยถ่ายภาพใช่ไหมครับ?

เรารู้ว่าถ้าเปิดหน้ากล้องนานภาพก็ยิ่งสว่าง?

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

[คลายเครียด] คำขวัญกรุงเทพฯ โดย โน้ต อุดม


มีการประกวดคำขวัญกรุงเทพฯ ครับ พี่โน้ตแกเลยอยากแจมด้วย แต่งซะ จะเป็นมหากาพย์อยู่แล้ว ก็อ่านคลยเครียดนะครับ ^^ แต่พอดูๆ ไปมันก็จริง Orz
กรุงเทพฯ งามสง่า
ตระการตาอุโมงค์ยักษ์
ใครประจักษ์แสนปราโมทย์
ต่างชาติโหวตเมืองน่าเที่ยว
มาครั้งเดียวต้องสะดุด
วิเศษสุดคือรถติด
หนีควันพิษมีรถไฟฟ้า
อนิจจาสั้นไปไหน?
ไม่เป็นไรมีแท็กซี่
โบกกี่ทีพี่บอกส่งรถ
ทีฝรั่ง(ท่าน)ไปหมด
งามหมดจด 2 มาตรฐาน

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554

[จับผิด] มนุษย์ต่างดาว


มนุษย์ต่างดาวมีจริงหรือไม่?
เคยมาติดต่อโลกหรือไม่?
...
เราจะมาหาคำตอบและพิสูจน์กันในบทความนี้

ก่อนอื่นขอบอกก่อนว่าอาจมีการโยงเข้าเกี่ยวกับเรื่องศาสนา จริงอาจทำให้งมงายบ้าง แต่การที่โยงเข้าศาสนานั้น เป็นการพิสูจน์อีกวิธีหนึ่ง โดยอ้างกับหลักการทางศาสนา

มนุษย์ต่างดาวมีจริงหรือไม่?

ตามหนังสือไตรภูมิพระร่วงได้กล่าวไว้อยางพิสดารว่า จักรวาลคือพื้นที่ ที่มีเขาพระสุเมรุ [พระ-สุ-เมน] เป็นประธานอยู่กึ่งกลางของจักรวาลโดยมีทวีปทั้ง 4 ล้อมรอบ ประกอบไปด้วย

  1. ปุพพวิเทหทวีป ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาพระสุเมรุ
  2. อมรโคยานทวึป (อปรโคยานทวีป) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาพระสุเมรุ
  3. ชมพูทวีป (โลกมนุษย์ที่เราอยู่) ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเขาพระสุเมรุ
  4. อุตตรกุรุทวีป ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเขาพระสุเมรุ
โดยแต่ละทวีปจะมีมนุษย์อาศัยอยู่ โดยหน้าตาอาจแตกต่างกันไป คือ หน้ากลม หน้าเหลี่ยม หน้าสามเหลี่ยม หน้ารี ซึ่งเราจัดเป็นประเภทหน้ารี

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ขอรับบริจาคลูกน้ำ (ยุง)




ขอรับบริจาคลูกน้ำ (ยุง) เพื่อนำมาวิจัย ทดลองหาสมุนไพรไล่ยุง โดยท่านสามารถติดต่อผมได้ทาง rith.conan[ณ]gmail.com และผมจะไปรับถึงที่
ขอบคุณทุกท่านครับ

สิ้นหวังกับกรุงเทพฯ


วันนี้ผมมองขึ้นไปบนท้องฟ้าแล้วบอกตัวเองว่า สิ้นหวังแล้วกับกรุงเทพฯ
กรุงเทพฯ ยามค่ำคืน สว่างมากๆ เลยครับ
กรุงเทพฯ มหานครที่เจริญรุ่งเรือง เต็มไปด้วยแสงไฟ แต่รู้หรือไม่? แสงไฟนี้บดบังแสงของดาวจนหมด
กลุ่มดาวนายพราน ซึ่งเมื่อประมาณ 2-3 ปีที่แล้ว ผมสามารถเห็นได้ทั้งกลุ่ม แต่ต้นปีนี้... ผมเห็นแค่ ไรเจล ที่ริบหรี่มากๆ ซึ่งมีโชติมาตรประมาณ 0.18 ซึ่งถือว่าสว่างมาก แต่เมื่ออยู่ในเมืองที่แสนเจริญกลับสู้แสงแห่งความเจริญ[ที่แท้จริง?]ไม่ได้
ไรเจล ถือว่าสว่างสุดในกลุ่มดาวนายพราน ซึ่งดูง่ายที่สุดเมื่อ 2-3 ปีก่อน แต่อย่างว่าแหละครับ ขนาดดาวเคราะห์บางดวงผมยังไม่เห็นเลย เช่น อังคาร แสงริบหรี่มาก
ผมได้คาดการไว้ว่า ถ้าอยู่ในกรุงเทพฯ ดาวที่โชติมาตร >-1 ถึงจะมองได้ แต่จะริบหรี่ ซึ่งดาวที่ >-1 ก็มีดาวฤกษ์ไม่กี่ดวงคือ ซิริอุส ที่เหลือเป็นดาวเคราะห์ และที่สำคัญ ตามการประมาณเมื่อ 2-3 ปีก่อน ดาวที่จางสุดเมื่อมองจากเมืองใหญ่คือ 3 ใช่ครับ 3 จางมาก แต่ยังเห็นได้ในเมืองใหญ่
ทีนี้เราก็ต้องมาแก้ไขกันแล้วหล่ะครับ โดยการปรับปรุงไม่ให้มีหรือลดไฟที่ส่องไปยังท้องฟ้า ซึ่งจะลดมลพิษทางแสงได้มาก
สุดท้ายนี้ขอฝากอะไรไว้อย่างหนึ่งครับ
ฤๅ กรุงเทพฯ จะเจริญเกินไป?

วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2554

พระมหากษัตริย์สยามกับดาราศาสตร์:สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ตามที่สัญญาไว้ในบทความอยากเป็นนักดาราศาสตร์ ต้องเรียนอะไร? ที่บอกว่าจะเขียนเรื่องร.4 วันนี้ก็ได้โอกาสมาเขียนแล้วครับ
รัชกาลที่ 4 [พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏสุทธิ สมมุติเทพยพงศวงศาดิศรกษัตริย์ วรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธิเคราะหณี จักรีบรมนาถ อดิศวราชรามวรังกูร สุจริตมูลสุสาธิตอุกฤษฐวิบูลย บุรพาดูลยกฤษฎาภินิหารสุภาธิการรังสฤษดิ ธัญญลักษณ วิจิตรโสภาคสรรพางค์ มหาชโนตมางคประนตบาทบงกชยุคคล ประสิทธิสรรพสุภผลอุดม บรมสุขุมาลยมหาบุรุษยรัตน ศึกษาพิพัฒนสรรพโกศล สุวิสุทธิวิมลศุภศีลสมาจารย์ เพ็ชรญาณประภาไพโรจน์ อเนกโกฎิสาธุ คุณวิบุลยสันดาน ทิพยเทพวตาร ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์เอกอัครมหาบุรุษ สุตพุทธมหากระวี ตรีปิฎกาทิโกศล วิมลปรีชามหาอุดมบัณฑิต สุนทรวิจิตรปฏิภาณ บริบูรณ์คุณสาร สัสยามาทิโลกยดิลก มหาปริวารนายกอนันต์ มหันตวรฤทธิเดช สรรพพิเศษ สิรินธรมหาชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปดลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเศกาภิษิต สรรพทศทิศวิชิตวิไชย สกลมไหศวรินมหาสยามินทร มเหศวรมหินทร มหาราชาวโรดม บรมนารถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อุกฤษฐศักดิอัครนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาลมหารัษฎาธิเบนทร ปรเมนทรธรรมมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบรมบพิตร พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว] (18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411) เป็นพระราชโอรสใน รัชกาลที่ 2 กับ สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี โดยพระองค์มีพระปรีชาในด้านต่างๆ มาก แต่เราจะเน้นด้านดาราศาสตร์
พระอัจฉริยภาพ พระปรีชาสามารถ และสัมฤทธิผลทางดาราศาสตร์ของพระองค์ เป็นที่ประจักษ์แก่ชาติมหาอำนาจ เช่น อังกฤษและฝรั่งเศส เพราะวิชานี้ เป็นวิชาวิทยาศาสตร์ชั้นสูงและทันสมัยที่สุดในยุคนั้น การที่จะมีความรู้ความสามารถเป็นที่ประจักษ์ได้นั้น จะต้องผ่านกระบวนการวิชาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเข้มงวดและเข้มข้นหลายวิชา เช่น วิชาภาษาอังกฤษชนิดใช้งานได้ทั้งอ่านและเขียน วิชาคณิตศาสตร์ วิชาตรีโกณมิติทรงกลม วิชาพีชคณิต วิชาลอการิทึม วิชาภูมิศาสตร์ คัมภีร์สุริยยาตร์ คัมภีร์สารัมภ์ คัมภีร์เกตุมูลฐาน และคัมภีร์สุริยสิทธานตะ เพื่อเข้าสู่วิชาดาราศาสตร์สมัยใหม่ กระบวนวิชาเหล่านี้ พระองค์ทรงศึกษาค้นคว้าด้วยความวิริยะอุตสาหะอย่างยิ่งยวดส่วนใหญ่ด้วยพระองค์เอง จึงเป็นการเสี่ยงต่อการเสื่อมเสียพระเกียรติยศเป็นอย่างสูง ถ้าหากการเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรสถานที่ที่พระองค์กำหนดที่ตำบลหว้ากอ เพื่อสังเกตสุริยุปราคาเต็มดวง ตามเวลาที่ทรงคำนวณไว้ผิดพลาดต่อหน้าเจ้าเมืองสิงคโปร์ และนักดาราศาสตร์ฝรั่งเศส ดังที่ทราบมาภายหลังว่า โหรสมัยนั้นและเจ้านายชั้นสูงหลายพระองค์ไม่เชื่อว่าจะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงจริง ๆ จึงไม่เอาใจใส่และไม่ยอมพัฒนาวิชาการเข้าสู่สมัยใหม่ด้วย
อ้างอิงจาก : http://thaiastro.nectec.or.th/royal/rama4.html

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บริวารใหม่ของพลูโต


นักดาราศาสตร์ค้นพบบริวารดวงใหม่ของดาวพลูโตเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งดวงจากการใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล
ก่อนหน้านี้ดาวพลูโตมีบริวารที่รู้จักเพียงสามดวง ได้แก่ คารอน นิกซ์ และ ไฮดรา นิกซ์กับไฮดราค้นพบในปี 2548 โดยกล้องฮับเบิลเช่นกัน คารอนถูกค้นพบในปี 2521
ตำแหน่งวงโคจรของบริวารดวงใหม่
อยู่ระหว่างนิกซ์และไฮดรา
บริวารดวงใหม่นี้มีชื่อชั่วคราวว่า พี 4 (P4) เป็นดวงที่เล็กที่สุดในบรรดาบริวารทั้งสี่ของพลูโต คาดว่ามีเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ในช่วง 13-34 กิโลเมตร เทียบกับบริวารดวงอื่นที่รู้จักก่อนหน้านี้ คารอน มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1,043 กิโลเมตร นิกซ์และไฮดรา มีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 32-113 กิโลเมตร ส่วนวงโคจรอยู่ระหว่างวงโคจรของนิกซ์กับไฮดรา
ระบบดาวบริวารของพลูโตคาดว่าเกิดจากการพุ่งชนระหว่างพลูโตกับวัตถุขนาดใหญ่ระดับดาวเคราะห์ในช่วงต้นของระบบสุริยะ เศษดาวที่กระจัดกระจายออกจากแรงชนได้รวมตัวกันเป็นบริวารต่าง ๆ ในเวลาต่อมา

วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กดไลค์ดาราศาสตร์บนเฟซบุ๊ค!

ถ้าชอบบล็อกนี้ ก็กด 'ถูกใจ' เลยครับ


Review:งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2554 ภาค 2

สืบเนื่องจากบทความที่แล้ว [Review:งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2554] ซึ่งได้เขียนภายใน ส่วนวันนี้ผมจะมา Review ต่อ เพราะว่า รถไฟฟ้าเฉลิมฯ (BTS) ได้เปิดแล้ว โดยท่านสามารถไปยังไบเทคได้โดยลงที่สถานีบางนา (E13) โดยพอลงไปให้ลงทางออกถนนสุขุมวิท และเดินไปประมาณ 150 เมตร จะมีประตูไบเทคและมีรถรับส่งภายในคอยให้บริการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย!!! นั่งไปซักพักก็จะถึงลานจอดรถและเดินไม่ถึง 50 ก้าว ก็ถึงประตูทางเข้าอาคารเรียบร้อยแล้วครับ ขอให้สนุกนะครับ อ้อ วันนี้ผมได้นั่งรถไฟฟ้าเฉลิมฯ เล่น เพราะนั่งฟรี :D ผมก็รู้สึกว่าช่วงข้ามแยกบางนาตอนรถเลี้ยวรถจะเอียงเล็กน้อย ใครเป็นอย่างไรก็ช่วยบอกกันด้วยนะครับ โดยการแสดงความคิดเห็น จักเป็นพระคุณอย่างสูง และสำหรับการเปิดบริการรถไฟฟ้าเฉลิมฯ นี้ก็จะไม่เสียค่าใช้จ่ายจนถึงวันที่ 1 มกราคม 2555 นะครับ :)

วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Review:งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2554

ทางเข้าจะมีพระบรมฉายาทิลักษณ์ ของร. ๔
วันนี้ผมได้ไปงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2554 ซึ่งจะนำมาเผยแพร่ให้ทุกท่านพิจารณาครับ :)
สถานที่ ไบเทค บางนา
เวลา 6 - 21 สิงหาคม 2554
งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีนี้ผมว่าอยู่ในระดับค่อนข้างจะดี(เกือบมาก) ผมก็มีบรรยากาศมาให้ดูครับ
โดยภาพรวมสำหรับงานปีนี้ผมค่อนข้างชอบของปีที่แล้วมากกว่าครับ
บูธของ NARIT
ส่วนเรื่องบูธนี่น่าสนใจไม่น้อยเลยหล่ะครับ เพราะว่ามีทั้งเคมี ชีวะ พฤกษฯ และ ดาราศาสตร์ โดยมีบูธของกลุ่มสำรวจขอบอวกาศของเด็กไทยมาด้วยครับ และก็มีบูธของ NARIT ซึ่งมีการแสดงภาพที่ชนะการประกวดภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ด้วย ถ้าคุณจะไปผมแนะนำให้ไปตั้งแต่ 4-5 คนครับ เพราะว่าจะมีบูธหนึ่งที่ต้องจับกลุ่มไปเพื่อดูดาว และเขาจะแจกไอแพด(ให้ยืม) กันกลุ่มละเครื่อง และเนื่องจากมีจำนวนจำกัดจึงควรไปถ่อน 15 นาที ต่อรอบครับ
และก็จะมีบูธแสดงถึวพระอัจฉริยภาพของร. ๔ และ ร.๙ ซึ่งทำดีครับ

บล็อกแนะนำ

บล็อกดาราศาสตร์ได้รับการแนะนำจากเว็บไซต์ codetukyang.com ว่าเป็นเว็บดีวันนี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีมากครับ ^^

วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อยากเป็นนักดาราศาสตร์ ต้องเรียนอะไร?

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
นักดาราศาสตร์ พระองค์หนึ่งของไทย
หลายคนถามมาว่า ถ้าอยากเป็นนักดาราศาสตร์ต้องเรียนอะไรครับ?
ขอตอบว่า เรียนอะไรก็ได้ ขอแค่ มีความรู้ทางฟิสิกส์หน่อย (ถ้าจะเป็นนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์) เพราะดาราศาสตร์นั้นไม่ต้องเรียนอะไรเยอะแยะ แต่พอได้สัมผัสคุณจะได้ความรู้ที่เยอะ เพราะมีคนบางคนที่จบนิติฯ จบวิศวะฯ จบคอมฯ แต่เป็นนักดาราศาสตร์ที่มีความสามารถได้ ดูตัวอย่างเช่น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงเรียนโหราศาสตร์ และอื่นๆ แต่ก็ทรงทำนายปรากฏการณ์สุริยุปราคา 18 สิงหาคม ได้อย่างแม่นยำ โดยเป็นเวลาล่วงหน้าถึง 2 ปี แม้แต่ฝรั่งก็ยังไม่มีความสามารถเท่าพระองค์
สำหรับพระราชกรณียกิจของพระองค์ผมจะนำเสนอในวันที่ 18 สิงหาคมนี้ ในวันวิทยาศาสตร์ และควรจะเป็นวันดาราศาสตร์แห่งชาติด้วย

จังหวัดใดดวงอาทิตย์ตกหลังสุด?

สืบเนื่องจากที่ผมได้อ่านบทความของ @thanyakij ที่พูดถึงจ.ที่ดวงอาทิตย์ตกทีหลังสุด ซึ่งขอนำเนื้อหามานะครับ
มีคำถามว่า จังหวัดไหนที่เห็นพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าหลังสุด ที่กูเกิลกูรู
หลายคนก็ตอบว่าภูเก็ต (เพราะได้ยินการพยากรณ์พระอาทิตย์ตกที่นี่บ่อยๆ)
แต่แท้จริงแล้วไม่ใช่? มาดูกันครับว่าเพราะอะไร

หลายคนคงเคยเรียนวิชาดาราศาสตร์พื้นฐาน
ที่ว่าแกนโลกทำมุมเอียงกับดวงอาทิตย์ 23.5 องศาโดยประมาณ
ซึ่งทำให้เกิดฤดูกาล ใช่ไหมครับ ?

ทีนี้ ไอ้เพราะแกนเอียงนี่แหละ ที่ทำให้จุดอาทิตย์ลับขอบฟ้าไม่ตรงกันในแต่ละวัน
เริ่มต้นที่ คำถามชื่อเดียวกับเอนทรีนี้ ณ กูเกิลกูรู ที่ถามว่า
จังหวัดไหนที่เห็นพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าหลังสุดค่ะ
มีหลายท่าน เข้าใจไปเอง ว่าแหลมพรหมเทพอยู่ตะันตกสุดของประเทศ
และจะสามารถเห็นพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าเป็นแห่งสุดท้าย.. แต่ว่าไม่ใช่
ผมตัดสินใจตอบว่า บ้านแม่สามแลบ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ด้วยเหตุผลเพียงว่ามันตะวันตกสุด (?)
ใช่ครับ ชื่อทิศมันมีที่มา ทิศตะวันตกมันก็แปลว่าตะวันตกช้ากว่าสิครับ

วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ดาวเคราะห์ดวงใดสวยที่สุด?

ถาม: ดาวเคราะห์ดวงไหนสวยที่สุด?
ร้อยละ 99 จะตอบว่า ดาวเสาร์
ซึ่งตอนแรกผมก็คิดอย่างนั้น
ซึ่งเป็นการคิดผิด

วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

40 นาที บน BTS

BTS
บทความนี้จะขอนอกเรื่องดาราศาสตร์หน่อยนะครับ เพราะว่าได้พบกับเหตุการณ์หนึ่งมา จึงอยากเผยแพร่ให้รับรู้

ประมาณ บ่าย 2 ครึ่งรถไฟฟ้าขบวนที่ผมนั่งมาจากสถานีสยามก็จอดหยุดนิ่ง ณ ขานชาลา 9¾ -_" พระโขนงต่างหาก lolz ผมก็รอตั้งนานว่า เอ๊ะ ทำไมไม่ไปซะที กูรีบเข้าใจม้ายยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยย? ผมก็รอจนมีประกาศว่าเกิดความผิดพลาดบนสายสุขุมวิท เออ ทำไมต้องมาเป็นที่กรูว์ด้วย    -[]-)/ แต่ผมก็มองโลกในแง่บวก ก็คิดว่า เออ นานๆทีติดบน BTS ก็ดีเหมือนกัน ที่จริงก็ไม่ได้รีบอะไรหรอก lolz จากนั้น อ๊ะก็นั่งรอแล้วกัน รอสักพักก็มีประกาศว่าเกิดความผิดพลาดที่อ่อนนุช แล้วรถจะมาทุกๆ 15 นาที เออ เร็วเหมือนกันแฮะ พอรอไปอีก 15 นาที ก็ประกาศอีกว่า

วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เตรียมพบ E-Book Darasart


บล็อกดาราศาสตร์เตรียมที่จะเปิดให้บริการ E-Books โดยช่วงแรกจะนำเป็นบทความแบบอัปเดตเอง ส่วนภายหลังจะพัฒนาเป็นอัปเดตอัตโนมัติ โดยท่านสามารถติดตามรายชื่อ E-books และ ดาวน์โหลด E-books ได้ทางป้ายกำกับ E-book

ซูเปอร์โนวาแบบใหม่ สว่างกว่าแบบอื่น 10 เท่า


ซูเปอร์โนวาชนิดใหม่
สามในหกดวงที่ค้นพบ
ทางซ้ายคือภาพก่อนการระเบิด
ทางขวาคือภาพหลังการระเบิด
นักดาราศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย ได้ค้นพบซูเปอร์โนวาชนิดใหม่ ที่มีความสว่างกว่าซูเปอร์โนวาทั่วไปถึง 10 เท่า
ย้อนหลังไปเมื่อปี 2550 รอเบิร์ต ควิมบี จากมหาวิทยาลัยเทกซัส ณ ออสติน ได้ค้นพบซูเปอร์โนวาดวงหนึ่ง มีความส่องสว่างกว่าดวงอาทิตย์ถึงหนึ่งแสนล้านเท่า และส่องสว่างกว่าซูเปอร์โนวาทั่วไป 10 เท่า ต่อมาได้ชื่อว่า 2005 เอพี (2005AP) ไม่เพียงแต่ความสว่างที่ผิดปกติแล้ว เมื่อศึกษาสเปกตรัมของซูเปอร์โนวานี้ยังพบความน่าพิศวงยิ่งกว่า เพราะไม่ปรากฏว่ามีร่องรอยของไฮโดรเจนอยู่เลย ทั้งที่ไฮโดรเจนเป็นธาตุที่ปกติมีอยู่มากมายในซูเปอร์โนวาเกือบทั้งหมด

วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เชิญร่วมกิจกรรมเดือนกรกฎาคม 2554 ของสมาคมดาราศาสตร์ไทย

กิจกรรมบรรยายพิเศษ เดือนกรกฎาคม 2554
วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม 2554
เรื่องหอดูดาวแปลก ๆ ในโลก และ เล่าข่าวดาราศาสตร์
ถ้าจะพูดถึงกล้องโทรทรรศน์และหอดูดาวที่มีอยู่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบันนี้ กล้องโทรทรรศน์ได้ถูกประดิษฐ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1609 (พ.ศ. 2152) โดย Galileo Galilei นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี เป็นบุคคลแรกของโลก ตั้งแต่นั้นมากล้องโทรทรรศน์ ได้ถูกพัฒนาด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้น นักดาราศาสตร์ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ศึกษาวิจัยดวงดาวในห้วงอวกาศที่ไกลโพ้นในหอดูดาว ไปจนถึงกล้องโทรทรรศน์ที่ถูกส่งออกไปลอยอยู่ในวงโคจรของโลกด้วย การบรรยายครั้งนี้เรามารู้จักหอดูดาวแปลก ๆ ที่มีอยู่ในโลกเขาใช้ศึกษาอะไร มีประเภทอะไรบ้าง และติดตามข่าวดาราศาสตร์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
ซึ่งครั้งนี้ผมจะไปเล่าข่าวครับ ^^

วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

พระมหากษัตริย์สยามกับดาราศาสตร์:สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (๒๑๗๕-๒๒๓๑)
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสรรเพชญ (พ.ศ. 2175 - พ.ศ. 2231 ครองราชย์ พ.ศ. 2199 - พ.ศ. 2231) พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 27 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่สำคัญบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของชาติไทยย้อนอดีตไปได้ประมาณกว่า 300 ปี สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้มีคณะราชทูตจากฝรั่งเศส อัญเชิญพระราชสาส์นของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มาถวายแด่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในปีพุทธศักราช 2228

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

จุดจบของโลก!

โลก ดาวเคราะห์ที่เราอาศัยอยู่ จะมีจุดจบหรือไม่?
ตามกระแสที่แสนมาแรง กระแสวันสิ้นโลก ผมกล้ายืนยันว่าโลกจะมีจุดจบอย่างแน่นอน แต่...จะจบยังไงหล่ะ?
  1. 2012
         เลิกคิดได้เลย เพราะว่า 2012 เป็นแค่หนึ่งในปฏิทินมายาซึ่งมีหลายแบบ แบบหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับปี ค.ศ. 2012 คือแบบที่เรียกกันว่า ปฏิทินรอบยาว (long count) ระบุวันด้วยชุดของตัวเลข ตัวเลขชุดนี้แทนวันที่ได้ยาวนาน 5,126 ปี เทียบกับวันที่ตามระบบปฏิทินสากลตั้งแต่ วันที่ 11 สิงหาคม 3114 ปีก่อนคริสต์กาลไปจนสุดจำนวนเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 2012
  2. มหาพายุสุริยะ
         อันนี้ก็มาจากกระแส 2012 ซึ่งพายุสุริยะเกิดขึ้นบ่อย แต่ส่วนใหญ่ไม่มีทิศทางมาทางโลก และถ้ามีเราก็ยังมีเกราะคือสนามแม่เหล็กโลกปกป้องอยู่ สำหรับผลกระทบจากพายุสุริยะ

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ดาราศาสตร์คืออะไร?

มีคนหลายคนได้ถามและดูถูกส่าเรียนดาราศาสตร์เรียนไปแล้วได้อะไร? เรียนแล้วทำอะไร? เรียนแล้ว.....???
ซึ่งเป็นคำถามที่ดูถูกมาก อ.อารี  สวัสดี  นายกสมาคมดาราศาสตร์ไทย และคณะกรรมการบริหารสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติได้เคยกล่าวไว้ว่า
ดาราศาสตร์เป็นวิชาแห่งมวลมนุษยชาติ

วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สัญลักษณ์ทางดาราศาสตร์

โปรดติดตั้งฟอนต์ Symbola ก่อน (Download!)

สีเขียว = นิยม | สีเหลือง = มีใช้บ้าง | สีแดง = ไม่นิยม

ชื่อ
สัญลักษณ์
ความหมาย
หมายเหตุ
ดวงอาทิตย์
ดวงอาทิคย์
ดวงอาทิตย์กับรังสี
หน้าของดวงอาทิตย์
ดาวพุธ
หมวกปีกและคทาของเทพเมอร์คิวรี
ดาวศุกร์
กระจกมือของเทพีวีนัส

วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ความสามารถในการแสดงความคิดเห็นของบล็อก!

บล็อกนี้มี Feature ใหม่คือใส่ลิงก์เชื่อมโยงไปยังทวิตเตอร์ของคุณได้ เพียงแค่ใส่ @ชื่อผู้ใช้ทวิตเตอร์ของคุณ เท่านี้ก็จะมีหน้าต่างเล็กๆขึ้นมา แสดงรายละเอียดของบัญชีคุณ พร้อมปุ่ม Follow
และในการแสดงความคิดเห็น ถ้าอยากให้ระบบลิงก์ไปยังทวิตเตอร์ของคุณกรุณาเลือก ชื่อ/URL และกรอกเฉพาะ ชื่อ ด้วย @ชื่อผู้ใช้ทวิตเตอร์ของคุณ โดยถ้าหากคุณกรอก URL ด้วย การใช้งานจะใช้ไม่ได้  
ลองดูสิ!!! 
ชี้เมาส์ --> @Twitter

ดาวแปลกพวกสีน้ำเงินในใจกลางทางช้างเผือก

นักวิทยาศาสตร์ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลค้นพบดาวแปลกพวกสีน้ำเงินอยู่บริเวณใจกลางดาราจักรทางช้างเผือกเป็นครั้งแรก
ดาวฤกษ์ประเภทที่เรียกว่า "ดาวแปลกพวกสีน้ำเงิน" (blue straggler) มีชื่อพิลึกเช่นนี้เนื่องจากสมบัติที่ทำให้ดูเหมือนอายุน้อย ต่างจากดาวดวงอื่น ๆ ที่กำเนิดมาพร้อม ๆ กัน บางครั้งจึงมองได้ว่าเป็น "ดาวนอกคอก" นักดาราศาสตร์พบดาวประเภทนี้มาแล้วตามกระจุกดาวทรงกลมหลายแห่ง แต่นี่เป็นครั้งแรกที่พบบริเวณใกล้แก่นของดาราจักรทางช้างเผือก

ต้นกำเนิดของดาวแปลกพวกสีน้ำเงินยังไม่ทราบแน่ชัด ทฤษฎีที่ยอมรับกันโดยทั่วไปอธิบายว่า ดาวประเภทนี้เกิดมาจากดาวคู่ เมื่อสมาชิกของดาวคู่ที่มวลมากกว่าวิวัฒน์นำหน้าดวงที่มวลต่ำกว่าและเริ่มขยายออก จะถ่ายเทมวลบางส่วนไปให้ดวงที่มวลต่ำกว่า กระบวนการนี้ ได้เติมเชื้อเพลิงและทำให้ดาวที่กำลังใหญ่ขึ้นเร่งปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน ดาวจึงร้อนขึ้นและเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเหมือนกับดาวอายุน้อยมวลสูง

วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ใบสมัครสอวน.ดาราศาสตร์(จุฬาฯ)มาแล้ว

ใบสมัครสอวน.ดาราศาสตร์(จุฬาฯ)มาแล้ว สามารถดาวน์โหลดโดยคลิกรูปภาพข้างล่าง
หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้กรุณาดูที่ 

วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

หมุน โคจร โคจร หมุน!?

คำถามที่งายที่สุดคือ โลกทำอะไรกับดวงอาทิตย์ และ โลกทำอะไรถึงทำให้เกิดกลางวันกลางคืน
คำตอบ บางคนอาจตอบว่า โลกหมุนกับดวงอาทิตย์ และ โลกโคจรรอบตัวเองทำให้เกิดกลางวันกลางคืน
ซึ่ง.... ผิด
ที่ถูกต้องเป็น โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ และ โลกหมุนรอบตัวเองทำให้เกิดกลางวันกลางคืน
แล้ว ดวงจันทร์โคจรรอบโลกหรืออะไร?

วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สอวน.ดาราศาสตร์ ปี 2554 รับสมัครแล้ว!

การรับสมัครโครงการโอลิมปิกวิชาการดาราศาสตร์ ศูนย์ สอวน.กทม

รับสมัคร20-29 กรกฎาคม 2554
วันสอบ - 28 สิงหาคม 2554วิชาดาราศาสตร์ (บ่าย) 
ประกาศผลสอบ 20 กันยายน 2554 
ปฐมนิเทศและลงทะเบียน 3 ตุลาคม 2554 (08.30-09.30 น.)
ค่าย 1 3-22 ตุลาคม 2554 


วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บทเพลงดาราศาสตร์

ดาราศาสตร์ก็มีบทเพลงเพราะๆหลายๆเพลง โดยวันนี้จะนำเพลงชุด "เดอะ พลาเนตส์" ของ กุสตาฟ โฮลส์ โดยจะนำเพลง ดาวพฤหัสบดี, ผู้นำมาซึ่งความรื่นรมย์ (Jupiter, the Bringer of Jollity) มาให้ฟังก่อน โดยวันต่อๆไปจะนำมาลงเพิ่ม
ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.gustavholst.info/

Crazy Astronomy เปลี่ยนชื่อแล้ว!

ตอนนี้ Crazy Astronomy ไปเปลี่ยนชื่อไปเป็น Darasart แล้ว! โดยท่านสามารถเข้าได้ทาง darasart.blogspot.com

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Darasart รองรับการดูเว็บผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่แล้ว!

Darasart รองรับการดูเว็บผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่แล้ว!
สามารถเข้าได้ทาง

สแกน QR Code
เข้าผ่านลิงก์ http://darasart.blogspot.com/?m=1
หรือเข้าผ่าน http://darasart.blogspot.com/ โดยตรง โดยทางบล็อกจะเปลี่ยนไปยังหน้าสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยอัตโนมัติ

พลาดจันทรุปราคา 16 มิถุนายน 2554?

สำหรับผู้ที่พลาดจันทรุปราคา 16 มิถุนายน 2554 ด้วยเหตุผลต่างๆนานา เช่น ฟ้าปิด ไม่ตื่น -*- และอื่นๆ กูเกิลจับมือกับ slooh.com ถ่ายทอดปรากฏการณ์ครั้งนี้ โดยมีวิดีทัศน์ย้อนหลังที่นี่!


วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ภาพสดๆของจันทรุปราคา 16 มิถุนายน 2554

ขอขอบคุณ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ที่เอื้อเฟื้อภาพ
กล้องจาก สงขลา (คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา)




สำหรับผู้ที่ไม่สามารถรับชมได้ กรุณาลองตรวจสอบที่ http://118.174.34.82/lunar/songkhla.html
หยุดการถ่ายทอดแล้ว!

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ดูจันทรุปราคาเต็มดวง 16 มิถุนายน 2554 ดูอย่างไร?

ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงในปีนี้เป็นสุดยอดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเพราะ
- ยาวนานเกิน 100 นาที
- ไม่ได้ดูมานานแล้ว
- เห็นได้ในประเทศไทย!

ดูจันทรุปราคาควรทำอะไร?
1 พระราหูไม่เคยทำร้ายใคร อย่ายิงปืนไล่
พระราหูไม่เคยทำร้่ายใคร ไฉนถึงต้องยิงปืนไล่? ถ้าเรายิงปืนขึ้นฟ้าอาจทำให้ฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนาได้!!! ติดคุกกับยิงปืน คุ้มกันไหม?
2 เคาะชาม กะทะ กะละมัง เคาะกันให้ข้างบ้านด่า?
การเคาะชาม กะทะ กะละมัง เป็นการรบกวนชาวบ้านชาวช่องเขา ดีไม่ดีอาจเจอกระถางต้นไม่นะครับ :)
3 อย่าจุดธูปบูชาราหู เดี๋ยวพระเพลิงะมาเยือน
อย่าพยายามจุดธูปบูชา เพราะอาจทำให้เกิดอัคคีภัย และควันธูปจะทำให้การสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์เป็นไปอย่างยากลำบาก เพราะถ้าวันนั้น อุตส่าห์บวงสวงพระอินทร์ พระพรหมให้ปราศจากเมฆ เพื่อชมจันทรุปราคา แต่มาเจอควันซะนี่...

อยากดูจันทรุปราคาต้องมีอะไรบ้าง?
1 ตา 2 ข้าง
การดูจันทรุปราคาด้วยตาเป็นสิ่งที่สวยที่สุด
2 มีกล้องส่องนก/กล้องสองตา ก็ส่องขึ้นฟ้าสิ!
การใช้ทรรศนูปการณ์ช่วยจะทำใมห้การดูตื่นเต้นยิ่งขึ้น โดยเฉพาะปรากฏการณ์ดวงจันทร์บังดาว 51 คนแบกงู อาจจะต้องใ้ทรรศนูปกรณ์ช่วย เนื่องจากแสงจันทร์สว่าง
3 ถ่ายรูปไว้ เป็นที่ระลึก!
 การถ่ายรูปปรากฏการณ์นี้ เป็นปรากฏการณ์ที่หายาก ดังนั้นควรจะถ่ายภาพเก็บไว้ ซึ่งการถ่ายภาพไม่จำเป็นต้องมีกล้อง DSLR ราคาเหยียบแสน เอากล้อง Digital Compact ธรรมด๊า ธรรมดานี่แหละ เล็ง-โฟกัส-แชะ! แค่นี้ก็ได้รูปแล้ว!!!

ขอบคุณที่อุตส่าห์อ่านครับ :)
ข้อมูลเพิ่มเติม
 สมาคมดาราศาสตร์ไทย
  จันทรุปราคาเต็มดวง : 16 มิถุนายน 2554
  ดวงจันทร์บังดาว 51 คนแบกงู : 16 มิถุนายน 2554

ทดสอบ

ทดสอบ 1234

5 อันดับบทความยอดนิยมตลอดกาล