วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554

คืบหน้าสอวน.ใหม่


รอนานมากไหมครับกับสอวน.ดาราศาสตร์ศูนย์จุฬาฯ
นานมวากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก
เนื่องจากอาจารย์ท่านหนึ่งป่วยครับ ส่วนอีก 2 ท่านเสร็จแล้ว
คาดว่าคงเสร็จในอีก 2-3 วันครับ

หากว่าประกาศผลแล้ว ทางเว็บจะประกาศเป็นแห่งแรกๆ เลยครับ!

Orz

วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

โลกเป็นศูนย์กลางผิดหรือถูก?


เรามาดูคลิปๆหนึ่งกันก่อนครับ 
หากวิดีโอมันไม่เริ่มที่เวลา 0:57 ให้โปรดเลื่อนไปเริ่มที่ 0:57 ครับ

จากวิดีโอนี้เขาได้พูดไว้ว่า
...เมื่อก่อนมีความเชื่อของคริสตจักรว่า โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ซึ่งเป็นความคิดที่โง่เง่าเต่าตุ่นมาก...
ทุกท่านครับ ความคิดที่โลกเป็นศูนย์กลาง [Geocentric] โง่เง่าหรือครับ?
ไม่ครับ ไม่อย่างมากด้วย
ถ้าท่านใดติดตามผลงานของผมมาอย่างต่อเนื่องจะพบว่าบทความ 

[อธิบาย] ภาพเส้นกลมๆ รอบๆ ฟ้า คืออะไร?

ผมได้เขียนไว้ว่า

อันดับแรก เรารู้ว่า โลกหมุน ครับ โลกหมุน พอโลกหมุน ดาวก็โคจรไปรอบๆ ท้องฟ้าทีนี้เพื่อให้เป็นการง่ายต่อการอธิบาย เราจึงยึดหลักการว่า โลก อยู่นิ่ง ส่วน ท้องฟ้าโคจรรอบโลกก็แล้วกันอ๊ะๆ หลายคงคงคิดอยู่ในใจว่า ผิด ใช่ไหมล่ะคร้าบบบบบบ? :)ไม่ครับอันนี้ไม่ผิด เพราะเป็นวิธีการมองแบบหนึ่ง คือ โลกเป็นศูนย์กลาง ส่วนอีกแบบคือ ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง
ครับการมองโลกเป็นศูนย์กลางไม่ได้ผิดครับ
แค่วิทยาการสมัยนั้นยังไม่พอ
สมัยนั้นยังไม่มีดาวเทียม ยังไม่มียานอวกาศ
คิดได้แค่นั้นก็สุดยอดแล้ว!
ถ้าคิดว่าคนโบราณคิดโง่เง่าเต่าตุ่นจริง ทำไมแบบจำลองทรงกลมของดอลตันไม่โง่กว่าหรือ?
ของรัทเทอร์ฟอร์ดไม่โง่กว่าหรือ?
ไม่โง่! เพราะเครื่องมือไม่พอ
ผมถามหน่อยครับ ท่านที่อยู่ในคลิป ถ้าท่านเป็นคนสมัยก่อนท่านจะคิดว่าไง?
แน่นอน โลกเป็นศูนย์กลาง!!! ผมเชื่อว่าเขาไม่มีปัญญาพอที่จะคิดได้ด้วยตนเองหรอกว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง
ซึ่งคลิปนี้ผมเตยได้แจ้งเขาไปครั้งหนึ่งว่า คุณพูดผิด มันไม่ได้โง่เง่าเต่าตุ่น
แต่..เขาเป็นคนรับความจริงไม่ได้! เขาก็มาลบคอมเมนต์ผมไป!!!
ครับ แค่นี้รับความจริงไม่ได้?

เอ้าบ่นไปละ เสียพื้นที่เปล่าๆ
ทีนี้เรามาดูกันดีกว่าว่าโลกเป็นศูนย์กลางผิดไหม? และทำอะไรได้บ้าง?

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

นาซาริงโทน


ริงโทนจากเพลงประกอบภาพยนตร์หรือ?
เชยไปแล้ว!

นาซาเปิดให้ดาวน์โหลดริงโทนจากอวกาศ!
มีทั้งเสียงนับตอนปล่อยจรวด
เสียงนีล อาร์มสตรอง
และเสียง ฮูสตัน เรามีปัญหา! [Apollo 13]
และอื่นๆ อีกมากมาย

รองรับทั้ง
2G, 3G, 4G phone
iPhone
Android
BB

ดาวน์โหลดและฟังได้ที่ http://www.nasa.gov/connect/sounds/

UARS ตกแล้ว

หลังจากที่มีข่าวเรื่อง UARS กันพักใหญ่
ในที่สุด UARS ก็ได้ตกลงสู่โลกแล้ว และได้รับการยืนยันโดยนาซา

การตกครั้งนี้ลงสู่โลกครั้งนี้ได้ตกลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก บริเวณนอกชายฝั่งอลาสกา
การตกครั้งนี้ผิดจากความคาดหมายที่คากว่าจะตกในประเทศออสเตรเลียหรือบนบก
ซึ่งก็นับว่าเป็นความโชคดีอย่างยิ่งที่ดาวเทียมตกลงสู่มหาสมุทร

แถลงการณ์ของนาซา
Sat, 24 Sep 2011 02:46:42 PM GMT+0700
NASA’s decommissioned Upper Atmosphere Research Satellite fell back to Earth between 11:23 p.m. EDT Friday, Sept. 23 and 1:09 a.m. EDT Sept. 24. The Joint Space Operations Center at Vandenberg Air Force Base in California said the satellite penetrated the atmosphere over the Pacific Ocean. The precise re-entry time and location are not yet known with certainty.
 

#UARS Live!





ภาพถ่าย UARS

วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

[รายงาน] ความคืบหน้า สอวน. ดาราศาสตร์


หลายๆ คนคงลุ่นกับผลสอวน. ดาราศาสตร์ ศูนย์จุฬาฯ ผมก็จะนำความคืบหน้ามาบอกกันครับ
FAIL

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

[พิเศษ] ดาวเทียมยูอาร์ส (UARS) จะตกลงสู่โลก [อัปเดตอีกรอบ]


โปรดอย่าตกใจ!

    วรเชษฐ์ บุญปลอด - สมาคมดาราศาสตร์ไทย
คัดลอกจาก http://thaiastro.nectec.or.th/news/2011/special/uars.html
อัปเดตใหม่ล่าสุด 23/9/2554!!!
ดาวเทียมยูอาร์ส
เทียบกับความสูงของมนุษย์โดยประมาณ
(ภาพดาวเทียมจาก NASA)
    ดาวเทียมขององค์การนาซาจะตกสู่โลกอย่างไร้การควบคุม คาดว่ามีชิ้นส่วนโลหะหลงเหลือกว่า 500 กิโลกรัม ตกลงสู่พื้นโลก มีโอกาสน้อยมากที่คนบนโลกจะได้รับอันตราย ขณะนี้คาดว่าอาจตกในวันที่ 22-24 กันยายน 2554 ยังไม่สามารถระบุจุดตกที่แน่นอนได้ -- บทความนี้จะปรับปรุงเป็นระยะ จนกระทั่งวันที่ดาวเทียมตก
ดาวเทียมยูอาร์ส
     ดาวเทียมวิจัยบรรยากาศชั้นบนหรือยูอาร์ส (Upper Atmosphere Research Satellite : UARS) เป็นดาวเทียมขนาด 4.5 × 11 เมตร หนัก 5.7 ตัน ที่องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา หรือองค์การนาซา ได้นำไปปล่อยในอวกาศเมื่อเดือนกันยายน 2534 โดยบรรทุกไปกับกระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรี ภารกิจคือการสำรวจบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ ดาวเทียมทำงานอยู่ในวงโคจรรอบโลกที่ความสูงประมาณ 580 กิโลเมตร หลังจากสิ้นสุดภารกิจแล้ว ปลายปี 2548 นาซาได้ใช้เชื้อเพลิงที่เหลืออยู่บนดาวเทียม ดึงดาวเทียมลงมาที่วงโคจร 360 × 510 กิโลเมตร เหนือผิวโลก เพื่อปล่อยให้ค่อย ๆ ตกลงมาด้วยแรงต้านจากชั้นบรรยากาศ
นาซาเตือนยูอาร์สใกล้ตก
     วันที่ 9 กันยายน 2554 นาซาแถลงว่าดาวเทียมยูอาร์สจะตกในปลายเดือนกันยายนหรือต้นเดือนตุลาคม 2554 โดยปราศจากการควบคุม เนื่องจากไม่เหลือเชื้อเพลิงบนดาวเทียม พร้อมระบุว่ามีโอกาส 1 ใน 3,200 หรือ 0.03% ที่ชิ้นส่วนดาวเทียมจะตกใส่คนจนก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรือล้มตาย นาซากล่าวว่าที่ผ่านมา ยังไม่เคยมีรายงานที่ยืนยันได้ว่ามนุษย์ได้รับอันตรายจากการตกของชิ้นส่วนดาวเทียมหรือขยะอวกาศอื่นๆ เว็บไซต์ของแอโรสเปซระบุว่ามีสตรีคนหนึ่งในรัฐโอคลาโฮมา โดนชิ้นส่วนจรวดขนาด 6 นิ้ว ชนเข้าที่ไหล่เมื่อปี 2540 แต่ไม่ได้รับบาดเจ็บ เนื่องจากถูกชนเบา ๆ แม้ความเสี่ยงจะต่ำมาก แต่นาซาก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ และกำลังเฝ้าติดตามดาวเทียมดวงนี้อย่างใกล้ชิด

วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

จุดลากรานจ์ คืออะไร?


จุดลากรานจ์ทั้ง 5 จุด
จุดลากรานจ์ [ลาก-กรานจ์] {Lagrangian point} คืออะไร?
ทำไมกล้องเจมส์เวบบ์ต้องไปอยู่?
จุดนั้นมีดีอะไร?
ุจุดนั้นมีที่เดียวหรือไม่?
ถ้าไปอยู่ตรงนั้นจะได้อะไร?

เราจะมาหาคำตอบกัน

จุดลากรานจ์ [ลาก-กรานจ์] คือจุดที่แรงระหว่างวัตถุมวลมาก 2 ชิ้น ทำกิริยาต่อกัน อันเป็นผลให้วัตถุมวลน้อยที่อยู่บริวณจุดลากรานจ์นั้น มีความเสถียร สามารถเคลื่อนที่โคจรไปรอบๆ วัตถุที่มีมวลมากกว่าอีกวัตถุหนึ่งได้ อย่างมีเสถียรภาพ โดยไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงใดๆ ทั้งสิ้น (ในทางทฤษฎี)
จุดลากรานจ์ในระบบสุริยะมีอยู่ทั้งหมด 5 จุด โดยมีชื่อว่า L1-5
แล้วจุดลากรานจ์แต่ละจุด อยู่ไหน?

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

เปิดบล็อกอย่างเป็นทางการ+แถ

หลังจากที่ได้ปิดปรับปรุง(?) มาเป็นเวลา 2-3 วัน ขณะนี้ก็ถึงเวลาที่สัญญาไว้แล้ว จึงขอเปิดใช้ โดเมนเนม http://www.darasart.info อย่างเป็นทางการ โดยทุกท่านสามารถเข้าบล็อกได้ทาง

แต่ในความเป็นจริง ทางบล็อกยังไม่ได้แก้ไขมาก เนื่องจากผู้เขียนแทบไม่มีเวลาในการเข้าบล็อกเลย จึงอาจมีลิงก์เก่าตกค้างบ้าง โดยเฉพาะ รหัสอ่านเร็ว [QR Code] ยังเป็นลิงก์เก่าอยู่ (http://darasart.blogspot.com/?m=1) และแบนเนอร์ของบล็อกยังเป็น  อยู่ ซึ่งทางบล็อกกำลังจะปรับปรุงตราสัญลักษณ์ โดยจะมีโลโกหลักเป็นตัวอักษรทั้งไทยและอังกฤษ คือ ตัว รวมกับ D โดยจะเปิดให้ชมและดาวน์โหลดตราสัญลักษณ์ใหม่ภายในเดือนนี้ ฉะนั้นผู้ที่แลกลิงก์กับเราจึงยังไม่ต้องเปลี่ยนลิงก์ โดยเราจะแจ้งไปยังท่านเมื่อตราสัญลักษณ์ใหม่เสร็จ 

ขอบคุณครับ
บล็อกมาสเตอร์

วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

Under construction


ขณะนี้ทางเว็บดาราศาสตร์ ได้เปลี่ยนโดเมนเนมมาเป็น http://www.darasart.info/ แล้ว แต่บทความเดิมยังไม่ได้แก้ไขลิงก์ จึงจะทำการปรับปรุงโดยมีกำหนดระยะเวลาถึงวันที่ 9 กัยายน 2554 โดยระหว่างนี้อาจมีการแสดงผลผิดพลาด จึงขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
โดยท่านยังสามารถอ่านบทความก่อนหน้านี้ได้ โดยดูที่แท็บทางด้านขวา ที่ชื่อว่า คลังบทความ

วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

[อธิบาย] ภาพเส้นกลมๆ รอบๆ ฟ้า คืออะไร?


วันนี้ผมหาภาพที่เป็นรูปดาวหมุนๆๆๆๆๆ รอบๆ ขั้วฟ้า ก็ไปเจอเว็บนี้เข้า http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1482661
ซึ่งมีภาพนึงที่เป็นรูป
ดาวตกในวงรอบขั้วฟ้าเหนือ [โอภาส ชาญมงคล] ภาพจาก สดร.
ทีนี้ก็มีความเห็นที่ 1 มาเขียนว่า 
ดาวตก ! ไม่น่าเชื่อ  เหมือนพลุที่วิ่งวนๆ กันเป็นวงกลมเลย !!
พี่แกคงไปเห็นชื่อรูปว่า  ดาวตกในวงรอบขั้วฟ้าเหนือ มั้ง?
พอเลื่อนลงมาดูเรื่อยๆ ก็มีผู้รู้มาเขียนว่า
(คห. 6) คห.1 คร๊าบ มันเป็นการเปิดหน้ากล้องทิ้งไว้นาน โดยหันกล้องไปทางดาวเหนือ ก็จะได้รูปดวงดาวต่างๆที่โคจรไปรอบๆตามการหมุนของโลก 
ผมก็เข้าใจทั้ง 2 คนนะ ว่า คนแรก แกคงไปอ่านชื่อแล้วทึกทักเอา ส่วนอีกคน ก็มาพร้อมกับความรู้

ทีนี้เรามาอธิบายเรื่องนี้กัน

อันดับแรก เรารู้ว่า โลกหมุน ครับ โลกหมุน พอโลกหมุน ดาวก็โคจรไปรอบๆ ท้องฟ้า
ทีนี้เพื่อให้เป็นการง่ายต่อการอธิบาย เราจึงยึดหลักการว่า โลก อยู่นิ่ง ส่วน ท้องฟ้า โคจรรอบโลกก็แล้วกัน
อ๊ะๆ หลายคงคงคิดอยู่ในใจว่า ผิด ใช่ไหมล่ะคร้าบบบบบบ? :)
ไม่ครับอันนี้ไม่ผิด เพราะเป็นวิธีการมองแบบหนึ่ง คือ โลกเป็นศูนย์กลาง ส่วนอีกแบบคือ ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง

ทีนี้เรามาดูกัน

ท้องฟ้าหมุนรอบโลก ดาวก็โคจรเป็นวงกลมไปรอบๆ ฟ้า ตามแกน R.A. ของมัน
แล้วทุกท่านเคยถ่ายภาพใช่ไหมครับ?

เรารู้ว่าถ้าเปิดหน้ากล้องนานภาพก็ยิ่งสว่าง?

5 อันดับบทความยอดนิยมตลอดกาล