วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

จุดลากรานจ์ คืออะไร?


จุดลากรานจ์ทั้ง 5 จุด
จุดลากรานจ์ [ลาก-กรานจ์] {Lagrangian point} คืออะไร?
ทำไมกล้องเจมส์เวบบ์ต้องไปอยู่?
จุดนั้นมีดีอะไร?
ุจุดนั้นมีที่เดียวหรือไม่?
ถ้าไปอยู่ตรงนั้นจะได้อะไร?

เราจะมาหาคำตอบกัน

จุดลากรานจ์ [ลาก-กรานจ์] คือจุดที่แรงระหว่างวัตถุมวลมาก 2 ชิ้น ทำกิริยาต่อกัน อันเป็นผลให้วัตถุมวลน้อยที่อยู่บริวณจุดลากรานจ์นั้น มีความเสถียร สามารถเคลื่อนที่โคจรไปรอบๆ วัตถุที่มีมวลมากกว่าอีกวัตถุหนึ่งได้ อย่างมีเสถียรภาพ โดยไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงใดๆ ทั้งสิ้น (ในทางทฤษฎี)
จุดลากรานจ์ในระบบสุริยะมีอยู่ทั้งหมด 5 จุด โดยมีชื่อว่า L1-5
แล้วจุดลากรานจ์แต่ละจุด อยู่ไหน?


จุดลากรานจ์ที่ 1
อยู่หน้าโลก ระหว่างดวงอาทิตย์กับโลก โดย SOHO ก็อยู่ที่จุดนี้ แต่เนื่องจากจุดนี้อยู่ระหว่างดวงอาทิต์กับโลก จึงไม่เหมาะสำหรับกล้องอินฟราเรดอย่างเจมส์เวบบ์

(Sun) ----------------- L1 ----------- (Earth)
[ไม่ได้มาตราส่วน]

จุดลากรานจ์ที่ 2
อยู่หลังโลกกับดวงอาทิตย์ โดยมีแผนภาพคร่าวๆ ดังนี้
(Sun) -------------- (Earth) ------- L2
[ไม่ได้มาตราส่วน]
เพียงแค่เอาที่บังแผ่นเดียวก็สามารถบังแหล่งอินฟาเรดได้ถึง 2 แหล่งด้วยกัน จึงเหมาะสมที่สุดที่จะนำกล้องเจมส์เวบบ์มาโคจรอยู่ที่นี่
แต่... เดี๋ยวก่อน หากคุณวางเจมส์เวบบ์ในที่นี้ โลกจะบังดวงอาทิตย์และเกิดเป็นสุริยุปราคาวงแหวน(90%) ตลอดเวลา!!! จึงไม่เหมาะแน่ๆ ที่จะวางไว้ให้เงาโลกบัง ดังนี้นนาซาจึงทำให้เจมส์เวบบ์โคจรรอบๆ จุดที่ 2 นี้ด้วย รัศมีประมาณ 20.000 กิโลเมตร
(Sun) -------------- (Earth) ------- L2 --(~20,000km)--|(ที่บัง)Webb
[ไม่ได้มาตราส่วน]

จุดลากรานจ์ที่ 3
อยู่หลังดวงอาทิตย์ โดยมีแผนภาพคร่าวๆ ดังนี้
L------- (Sun) ---------------------- (Earth)
[ไม่ได้มาตราส่วน]

จุดลากรานจ์ที่ 4, 5
อยู่บริเวณดาวเคราะห์น้อยโทรจัน (นำหน้าดาวพฤหัส 60 องศา และตามหลังดาวพฤหัส 60 องศา)
โดยจุดนี้มีแต่ดาวเคราะห์น้อย เต็มไปหมด คงไม่มีใครอยากเอาของราคาหลายล้านเหรียญสหรัฐไปวางหรอก จึงไม่มียานหรือดาวเทียมไปอยู่บริเวณนั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

5 อันดับบทความยอดนิยมตลอดกาล