วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554

จังหวัดใดดวงอาทิตย์ตกหลังสุด?

สืบเนื่องจากที่ผมได้อ่านบทความของ @thanyakij ที่พูดถึงจ.ที่ดวงอาทิตย์ตกทีหลังสุด ซึ่งขอนำเนื้อหามานะครับ
มีคำถามว่า จังหวัดไหนที่เห็นพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าหลังสุด ที่กูเกิลกูรู
หลายคนก็ตอบว่าภูเก็ต (เพราะได้ยินการพยากรณ์พระอาทิตย์ตกที่นี่บ่อยๆ)
แต่แท้จริงแล้วไม่ใช่? มาดูกันครับว่าเพราะอะไร

หลายคนคงเคยเรียนวิชาดาราศาสตร์พื้นฐาน
ที่ว่าแกนโลกทำมุมเอียงกับดวงอาทิตย์ 23.5 องศาโดยประมาณ
ซึ่งทำให้เกิดฤดูกาล ใช่ไหมครับ ?

ทีนี้ ไอ้เพราะแกนเอียงนี่แหละ ที่ทำให้จุดอาทิตย์ลับขอบฟ้าไม่ตรงกันในแต่ละวัน
เริ่มต้นที่ คำถามชื่อเดียวกับเอนทรีนี้ ณ กูเกิลกูรู ที่ถามว่า
จังหวัดไหนที่เห็นพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าหลังสุดค่ะ
มีหลายท่าน เข้าใจไปเอง ว่าแหลมพรหมเทพอยู่ตะันตกสุดของประเทศ
และจะสามารถเห็นพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าเป็นแห่งสุดท้าย.. แต่ว่าไม่ใช่
ผมตัดสินใจตอบว่า บ้านแม่สามแลบ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ด้วยเหตุผลเพียงว่ามันตะวันตกสุด (?)
ใช่ครับ ชื่อทิศมันมีที่มา ทิศตะวันตกมันก็แปลว่าตะวันตกช้ากว่าสิครับ



ผมให้เหตุผลไปว่า ที่แม่ฮ่องสอนนั้นตะวันตกสุดของประเทศ
พร้อมมีแผนที่ประกอบ
แต่ก็มีสมาชิกท่านหนึ่ง แย้งขึ้นมาว่าภูเก็ตตกทีหลังสุด เพราะแกนโลกเอียง!
(อันนี้ไม่โกรธนะครับ เพราะคำถามของสมาชิกท่านนั้น ทำให้เกิดเอนทรีนี้ครับ)
เพราะแกนโลกมันเอียง ความเอียงของแกน ?23.439 281?
ถ้าดูจากรูปสุดท้ายจะ เห็นว่าโลกเอียงตามแกนโลกไปทางขวา
ทำให้จังหวัดแรกที่ได้รับแสงจากดวง อาทิตย์ คืออุบล ที่ผาแต้ม
ที่สุดท้าย คือภูเก็ต ที่แหลมพรหมเทพ
ถ้า จำไม่ผิดจากความรู้สมัยเรียนวิทยาศาสตร์ระดับมัธยม และความรู้รอบตัว
อัน นี้แสดงเหตุและผลด้วยภาพนะคะ


การทดสอบ


เอาล่ะครับ เมื่อเราจะพูดถึงเหตุผลด้วยภาพ เราก็ต้องทดสอบกัน
แต่ผมไม่ชวนไปถึงอวกาศหรอกครับ มีวิธีง่ายกว่านั้น?.
ก่อนอื่นดูแผนภาพ ตำแหน่งของโลกในรอบปี
ซึ่งผมขอยกเอาสี่จุดสำคัญของปี ดังภาพต่อไปนี้?.

(ศารท พิมพ์ผิด ขออภัย แต่ยังไม่แก้เนื่องจากขี้เกียจ)
ต่อมาก็? อุปกรณ์การทดลองครับ ?
อุปกรณ์ไม่มีอะไรมาก มีโลก และแสงอาทิตย์ ก็พอ

เอา่ล่ะ วางตามตำแหน่ง แล้วถ่าย? ออกมาเป็นเช่นนี้
(ตำแหน่งศารทวิษุวัต เนื่องจากสถานที่จำกัด จึงถ่ายเฉียงนะ แต่ตำแหน่งถูกต้อง ดูรูปข้างบนประกอบ)


เรามาไล่ดูในจุดต่างๆ ในรอบปีกันเลยดีกว่า?

เริ่มต้นที่ฤดูใบไม้ผลิ.. วันวสันตวิษุวัต
(อ่านว่า วะ-สัน-ตะ-วิด-สุ-วัด)
จะเห็นว่า ดวงอาทิตย์ตกตรงขอบสันโค้งของลูกโลกทดสอบพอดี จึงขอแสดงด้วยภาพถ่าย

ในช่วงที่ว่านี้ ดวงอาทิตย์จะต่อนข้าง ขึ้น-ตก ตามเส้นเมอริเดียน
ถึงจะแกว่งแต่ก็ไม่มาก ดังนั้น ช่วงเวลานี้ ภูเก็ต ดวงอาทิตย์ตก ก่อนแม่ฮ่องสอน

ถัดไป เป็นกลางฤดูร้อน วันครีษมายัน
(อ่านว่า คะ-รีด-สะ-มา-ยัน)


ช่วงฤดูร้อนของซีกโลกเหนือ ขั้วเหนือจะหันเข้าหาดวงอาทิตย์
เขตละติจูดสูง (เหนืออาร์คติกเซอร์เคิล) ก็จะเห็นพระอาทิตย์เที่ยงคืน
เมืองที่อยู่ ยิ่งเหนือ ดวงอาทิตย์ยิ่งตกช้ากว่า เมืองที่อยู่ทางใต้
ดังนั้นแล้ว เป็นอีกช่วงที่ภูเก็ตจะมืดก่อนแม่ฮ่องสอน
และที่สำคัญ เป็นเพียงไม่กี่วันในรอบปี ที่ดวงอาทิตย์ตกที่ภูเก็ต ก่อนกรุงเทพมหานคร
รูปนี้เเป็นรูปเดียวกับที่ท่านนั้นนำมาอ้างอิง
ด้วยเหตุว่าเป็นตำแหน่งที่ขั้วโลกเหนือหันเข้าหาดวงอาทิตย์

ฤดูใบไม้ร่วง.. วันศารทวิิษุวัติ
(สาด-วิด-สุ-วัด)

เหมือนเดิม เหมือนวันราตรีเสมอภาคเมื่อฤดใบไม้ผลิที่ผ่านมา ดวงอาทิตย์ขึ้น-ตก
ไม่แกว่งไปจากเส้นเมอริเดียนมากนัก.. ช่วงนี้ ภูเก็ตจึงมืดก่อนแม่ฮ่องสอน 
สุดท้าย? ฤดูหนาว.. เหมายัน
(อ่านว่า เห-มา-ยัน)
รูปนี้เป็นคนละรูปกันกับที่สมาชิกกูรูท่านนั้นนำมาอ้างอิง

ในช่วง ฤดูหนาวของซีกโลกเหนือ เมืองที่อยู่ทางเหนือกว่า ระยะเวลากลางวันจะสั้นกว่า
รวมถึงดินแดนเหนืออาร์คติกเซอร์เคิล ที่จะไม่มีเวลากลางวันเลย
ช่วงนี้นี่แหละ ที่ดวงอาทิตย์ที่แหลมพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ต จะตกช้ากว่า แม่สามแลบ ที่แม่ฮ่องสอน
และก็เป็นช่วงเวลาเดียวกัน ที่คนนราธิวาสจะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้น ก่อนคนที่ผาแต้มอุบลราชธานี
ปรากฏการณ์นี้ เกิดเฉพาะในฤดูหนาวของซีกโลกเหนือที่ว่านี้เท่านั้น
สรุป
โดยผลการทดลองนั้น พิสูจน์ได้ว่า
ในทางซีกโลกเหนือ เมืองที่ดวงอาทิตย์จะตกหลังสุด
คือเมืองที่อยู่ทางตะวันตกกว่าเป็นหลัก ตามมาด้วยละติจูดที่สูงกว่า (เหนือกว่า)
และเมื่อเทียบตามค่ามัธยฐานแล้ว? แม่ฮ่องสอน ดวงอาทิตย์ตกทีหลัง ภูเก็ต ด้วยประการฉะนี้?
หลังจากทีี่อ่านมาแล้ว ก็ขอชมนะครับว่าการทดลองจัดได้ดีมาก อธิบายได้ดี เข้าใจง่าย
ทีนี้ผมจะมาอธิบาย+ชำแหละคำถามนี้ตามแบบฉบับของบล็อกดาราศาสตร์ครับ

ตกหลัง?
ผมชอบภาพนี้มากเลยครับ

จะเห็นว่าแม่ฮ่องสอนอยู่ใกล้ว่า UTC-0 มากกว่าภูเก็ตนะครับ ซึ่งอำเภอแม่สะเรียงที่อยู่ทางตะวันดกสุดของประเทศมีค่าพิกัดดังนี้ 18°9′34″N 97°56′1″E และแหลมพรหมเทพ จ.ภูเก็ตมีค่าพิกัดดังนี้ 7° 52′ 48″ N, 98° 22′ 48″ E จะเห็นว่าค่าเส้นแวง(ลองติจูด)ของแม่สะเรียงมีค่า 97 แหลมพรหมเทพมี 98 แสดงว่าแม่ฮ่องสอนจะต้องตกทีหลังใช่ไหมครับ? มาดูกัน

อันดับแรกเรารู้ว่าในช่วงหน้าร้อนคือระหว่าง วสันตวิษุวัต-ครีษมายัน-สารทวิษุวัต เป็นฤดูร้อน และ  สารทวิษุวัต-เหมายัน-วสันตวิษุวัต เป็นฤดูหนาว ฤดูร้อนดวงอาทิตย์จะทำงานที่ขั้วโลกเหนือมากว่าที่ขั้วโลกใต้ ดังนั้นยิ่งใกล้ขั่วโลก(ค่าเส้นรุ้งมากๆ) จะเห็นดวงอาทิตย์อยู่นานกว่า และ ฤดูหนาวดวงอาทิตย์จะหนีไปอยู่ขั้วโลกใต้ ดังนั้น ขั้วโลกเหนือแสงอาทิตย์จึงอยู่น้อยกว่า จากนั้นเรามาดูกันกว่า ประเทศไทยอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรทั้งประเทศดังนั้น จึงจัดเป็นประเทศในซีกโลกเหนือ แล้วที่ไหนดวงอาทิตย์ตกทีหลังหล่ะ?
จากข้อมูลเมื่อกี้นี้เรามาวิเคราะห์กันจะได้ว่า
ในช่วงฤดูร้อนแม่ฮ่องสอนจะตกหลังแน่นอน
พอมาช่วงวิษุวัตทั้ง 2 แม่ฮ่องสอนก็จะตกก่อนอีก
(แก้) ฤดูหนาวตั้งแต่วันที่ 26 กย. เป็นต้นไป ดวงอาทิตย์ที่จังหวัดภูเก็ตตกก่อนครับ ตรวจสอบได้ที่ http://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/sunmoon/2011/maehongson.html และ http://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/sunmoon/2011/phuket.html
View Larger Map

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

5 อันดับบทความยอดนิยมตลอดกาล