วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

[คลายเครียด] คำขวัญกรุงเทพฯ โดย โน้ต อุดม


มีการประกวดคำขวัญกรุงเทพฯ ครับ พี่โน้ตแกเลยอยากแจมด้วย แต่งซะ จะเป็นมหากาพย์อยู่แล้ว ก็อ่านคลยเครียดนะครับ ^^ แต่พอดูๆ ไปมันก็จริง Orz
กรุงเทพฯ งามสง่า
ตระการตาอุโมงค์ยักษ์
ใครประจักษ์แสนปราโมทย์
ต่างชาติโหวตเมืองน่าเที่ยว
มาครั้งเดียวต้องสะดุด
วิเศษสุดคือรถติด
หนีควันพิษมีรถไฟฟ้า
อนิจจาสั้นไปไหน?
ไม่เป็นไรมีแท็กซี่
โบกกี่ทีพี่บอกส่งรถ
ทีฝรั่ง(ท่าน)ไปหมด
งามหมดจด 2 มาตรฐาน

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554

[จับผิด] มนุษย์ต่างดาว


มนุษย์ต่างดาวมีจริงหรือไม่?
เคยมาติดต่อโลกหรือไม่?
...
เราจะมาหาคำตอบและพิสูจน์กันในบทความนี้

ก่อนอื่นขอบอกก่อนว่าอาจมีการโยงเข้าเกี่ยวกับเรื่องศาสนา จริงอาจทำให้งมงายบ้าง แต่การที่โยงเข้าศาสนานั้น เป็นการพิสูจน์อีกวิธีหนึ่ง โดยอ้างกับหลักการทางศาสนา

มนุษย์ต่างดาวมีจริงหรือไม่?

ตามหนังสือไตรภูมิพระร่วงได้กล่าวไว้อยางพิสดารว่า จักรวาลคือพื้นที่ ที่มีเขาพระสุเมรุ [พระ-สุ-เมน] เป็นประธานอยู่กึ่งกลางของจักรวาลโดยมีทวีปทั้ง 4 ล้อมรอบ ประกอบไปด้วย

  1. ปุพพวิเทหทวีป ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาพระสุเมรุ
  2. อมรโคยานทวึป (อปรโคยานทวีป) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาพระสุเมรุ
  3. ชมพูทวีป (โลกมนุษย์ที่เราอยู่) ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเขาพระสุเมรุ
  4. อุตตรกุรุทวีป ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเขาพระสุเมรุ
โดยแต่ละทวีปจะมีมนุษย์อาศัยอยู่ โดยหน้าตาอาจแตกต่างกันไป คือ หน้ากลม หน้าเหลี่ยม หน้าสามเหลี่ยม หน้ารี ซึ่งเราจัดเป็นประเภทหน้ารี

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ขอรับบริจาคลูกน้ำ (ยุง)




ขอรับบริจาคลูกน้ำ (ยุง) เพื่อนำมาวิจัย ทดลองหาสมุนไพรไล่ยุง โดยท่านสามารถติดต่อผมได้ทาง rith.conan[ณ]gmail.com และผมจะไปรับถึงที่
ขอบคุณทุกท่านครับ

สิ้นหวังกับกรุงเทพฯ


วันนี้ผมมองขึ้นไปบนท้องฟ้าแล้วบอกตัวเองว่า สิ้นหวังแล้วกับกรุงเทพฯ
กรุงเทพฯ ยามค่ำคืน สว่างมากๆ เลยครับ
กรุงเทพฯ มหานครที่เจริญรุ่งเรือง เต็มไปด้วยแสงไฟ แต่รู้หรือไม่? แสงไฟนี้บดบังแสงของดาวจนหมด
กลุ่มดาวนายพราน ซึ่งเมื่อประมาณ 2-3 ปีที่แล้ว ผมสามารถเห็นได้ทั้งกลุ่ม แต่ต้นปีนี้... ผมเห็นแค่ ไรเจล ที่ริบหรี่มากๆ ซึ่งมีโชติมาตรประมาณ 0.18 ซึ่งถือว่าสว่างมาก แต่เมื่ออยู่ในเมืองที่แสนเจริญกลับสู้แสงแห่งความเจริญ[ที่แท้จริง?]ไม่ได้
ไรเจล ถือว่าสว่างสุดในกลุ่มดาวนายพราน ซึ่งดูง่ายที่สุดเมื่อ 2-3 ปีก่อน แต่อย่างว่าแหละครับ ขนาดดาวเคราะห์บางดวงผมยังไม่เห็นเลย เช่น อังคาร แสงริบหรี่มาก
ผมได้คาดการไว้ว่า ถ้าอยู่ในกรุงเทพฯ ดาวที่โชติมาตร >-1 ถึงจะมองได้ แต่จะริบหรี่ ซึ่งดาวที่ >-1 ก็มีดาวฤกษ์ไม่กี่ดวงคือ ซิริอุส ที่เหลือเป็นดาวเคราะห์ และที่สำคัญ ตามการประมาณเมื่อ 2-3 ปีก่อน ดาวที่จางสุดเมื่อมองจากเมืองใหญ่คือ 3 ใช่ครับ 3 จางมาก แต่ยังเห็นได้ในเมืองใหญ่
ทีนี้เราก็ต้องมาแก้ไขกันแล้วหล่ะครับ โดยการปรับปรุงไม่ให้มีหรือลดไฟที่ส่องไปยังท้องฟ้า ซึ่งจะลดมลพิษทางแสงได้มาก
สุดท้ายนี้ขอฝากอะไรไว้อย่างหนึ่งครับ
ฤๅ กรุงเทพฯ จะเจริญเกินไป?

วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2554

พระมหากษัตริย์สยามกับดาราศาสตร์:สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ตามที่สัญญาไว้ในบทความอยากเป็นนักดาราศาสตร์ ต้องเรียนอะไร? ที่บอกว่าจะเขียนเรื่องร.4 วันนี้ก็ได้โอกาสมาเขียนแล้วครับ
รัชกาลที่ 4 [พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏสุทธิ สมมุติเทพยพงศวงศาดิศรกษัตริย์ วรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธิเคราะหณี จักรีบรมนาถ อดิศวราชรามวรังกูร สุจริตมูลสุสาธิตอุกฤษฐวิบูลย บุรพาดูลยกฤษฎาภินิหารสุภาธิการรังสฤษดิ ธัญญลักษณ วิจิตรโสภาคสรรพางค์ มหาชโนตมางคประนตบาทบงกชยุคคล ประสิทธิสรรพสุภผลอุดม บรมสุขุมาลยมหาบุรุษยรัตน ศึกษาพิพัฒนสรรพโกศล สุวิสุทธิวิมลศุภศีลสมาจารย์ เพ็ชรญาณประภาไพโรจน์ อเนกโกฎิสาธุ คุณวิบุลยสันดาน ทิพยเทพวตาร ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์เอกอัครมหาบุรุษ สุตพุทธมหากระวี ตรีปิฎกาทิโกศล วิมลปรีชามหาอุดมบัณฑิต สุนทรวิจิตรปฏิภาณ บริบูรณ์คุณสาร สัสยามาทิโลกยดิลก มหาปริวารนายกอนันต์ มหันตวรฤทธิเดช สรรพพิเศษ สิรินธรมหาชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปดลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเศกาภิษิต สรรพทศทิศวิชิตวิไชย สกลมไหศวรินมหาสยามินทร มเหศวรมหินทร มหาราชาวโรดม บรมนารถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อุกฤษฐศักดิอัครนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาลมหารัษฎาธิเบนทร ปรเมนทรธรรมมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบรมบพิตร พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว] (18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411) เป็นพระราชโอรสใน รัชกาลที่ 2 กับ สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี โดยพระองค์มีพระปรีชาในด้านต่างๆ มาก แต่เราจะเน้นด้านดาราศาสตร์
พระอัจฉริยภาพ พระปรีชาสามารถ และสัมฤทธิผลทางดาราศาสตร์ของพระองค์ เป็นที่ประจักษ์แก่ชาติมหาอำนาจ เช่น อังกฤษและฝรั่งเศส เพราะวิชานี้ เป็นวิชาวิทยาศาสตร์ชั้นสูงและทันสมัยที่สุดในยุคนั้น การที่จะมีความรู้ความสามารถเป็นที่ประจักษ์ได้นั้น จะต้องผ่านกระบวนการวิชาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเข้มงวดและเข้มข้นหลายวิชา เช่น วิชาภาษาอังกฤษชนิดใช้งานได้ทั้งอ่านและเขียน วิชาคณิตศาสตร์ วิชาตรีโกณมิติทรงกลม วิชาพีชคณิต วิชาลอการิทึม วิชาภูมิศาสตร์ คัมภีร์สุริยยาตร์ คัมภีร์สารัมภ์ คัมภีร์เกตุมูลฐาน และคัมภีร์สุริยสิทธานตะ เพื่อเข้าสู่วิชาดาราศาสตร์สมัยใหม่ กระบวนวิชาเหล่านี้ พระองค์ทรงศึกษาค้นคว้าด้วยความวิริยะอุตสาหะอย่างยิ่งยวดส่วนใหญ่ด้วยพระองค์เอง จึงเป็นการเสี่ยงต่อการเสื่อมเสียพระเกียรติยศเป็นอย่างสูง ถ้าหากการเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรสถานที่ที่พระองค์กำหนดที่ตำบลหว้ากอ เพื่อสังเกตสุริยุปราคาเต็มดวง ตามเวลาที่ทรงคำนวณไว้ผิดพลาดต่อหน้าเจ้าเมืองสิงคโปร์ และนักดาราศาสตร์ฝรั่งเศส ดังที่ทราบมาภายหลังว่า โหรสมัยนั้นและเจ้านายชั้นสูงหลายพระองค์ไม่เชื่อว่าจะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงจริง ๆ จึงไม่เอาใจใส่และไม่ยอมพัฒนาวิชาการเข้าสู่สมัยใหม่ด้วย
อ้างอิงจาก : http://thaiastro.nectec.or.th/royal/rama4.html

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บริวารใหม่ของพลูโต


นักดาราศาสตร์ค้นพบบริวารดวงใหม่ของดาวพลูโตเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งดวงจากการใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล
ก่อนหน้านี้ดาวพลูโตมีบริวารที่รู้จักเพียงสามดวง ได้แก่ คารอน นิกซ์ และ ไฮดรา นิกซ์กับไฮดราค้นพบในปี 2548 โดยกล้องฮับเบิลเช่นกัน คารอนถูกค้นพบในปี 2521
ตำแหน่งวงโคจรของบริวารดวงใหม่
อยู่ระหว่างนิกซ์และไฮดรา
บริวารดวงใหม่นี้มีชื่อชั่วคราวว่า พี 4 (P4) เป็นดวงที่เล็กที่สุดในบรรดาบริวารทั้งสี่ของพลูโต คาดว่ามีเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ในช่วง 13-34 กิโลเมตร เทียบกับบริวารดวงอื่นที่รู้จักก่อนหน้านี้ คารอน มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1,043 กิโลเมตร นิกซ์และไฮดรา มีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 32-113 กิโลเมตร ส่วนวงโคจรอยู่ระหว่างวงโคจรของนิกซ์กับไฮดรา
ระบบดาวบริวารของพลูโตคาดว่าเกิดจากการพุ่งชนระหว่างพลูโตกับวัตถุขนาดใหญ่ระดับดาวเคราะห์ในช่วงต้นของระบบสุริยะ เศษดาวที่กระจัดกระจายออกจากแรงชนได้รวมตัวกันเป็นบริวารต่าง ๆ ในเวลาต่อมา

วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กดไลค์ดาราศาสตร์บนเฟซบุ๊ค!

ถ้าชอบบล็อกนี้ ก็กด 'ถูกใจ' เลยครับ


Review:งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2554 ภาค 2

สืบเนื่องจากบทความที่แล้ว [Review:งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2554] ซึ่งได้เขียนภายใน ส่วนวันนี้ผมจะมา Review ต่อ เพราะว่า รถไฟฟ้าเฉลิมฯ (BTS) ได้เปิดแล้ว โดยท่านสามารถไปยังไบเทคได้โดยลงที่สถานีบางนา (E13) โดยพอลงไปให้ลงทางออกถนนสุขุมวิท และเดินไปประมาณ 150 เมตร จะมีประตูไบเทคและมีรถรับส่งภายในคอยให้บริการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย!!! นั่งไปซักพักก็จะถึงลานจอดรถและเดินไม่ถึง 50 ก้าว ก็ถึงประตูทางเข้าอาคารเรียบร้อยแล้วครับ ขอให้สนุกนะครับ อ้อ วันนี้ผมได้นั่งรถไฟฟ้าเฉลิมฯ เล่น เพราะนั่งฟรี :D ผมก็รู้สึกว่าช่วงข้ามแยกบางนาตอนรถเลี้ยวรถจะเอียงเล็กน้อย ใครเป็นอย่างไรก็ช่วยบอกกันด้วยนะครับ โดยการแสดงความคิดเห็น จักเป็นพระคุณอย่างสูง และสำหรับการเปิดบริการรถไฟฟ้าเฉลิมฯ นี้ก็จะไม่เสียค่าใช้จ่ายจนถึงวันที่ 1 มกราคม 2555 นะครับ :)

วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Review:งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2554

ทางเข้าจะมีพระบรมฉายาทิลักษณ์ ของร. ๔
วันนี้ผมได้ไปงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2554 ซึ่งจะนำมาเผยแพร่ให้ทุกท่านพิจารณาครับ :)
สถานที่ ไบเทค บางนา
เวลา 6 - 21 สิงหาคม 2554
งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีนี้ผมว่าอยู่ในระดับค่อนข้างจะดี(เกือบมาก) ผมก็มีบรรยากาศมาให้ดูครับ
โดยภาพรวมสำหรับงานปีนี้ผมค่อนข้างชอบของปีที่แล้วมากกว่าครับ
บูธของ NARIT
ส่วนเรื่องบูธนี่น่าสนใจไม่น้อยเลยหล่ะครับ เพราะว่ามีทั้งเคมี ชีวะ พฤกษฯ และ ดาราศาสตร์ โดยมีบูธของกลุ่มสำรวจขอบอวกาศของเด็กไทยมาด้วยครับ และก็มีบูธของ NARIT ซึ่งมีการแสดงภาพที่ชนะการประกวดภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ด้วย ถ้าคุณจะไปผมแนะนำให้ไปตั้งแต่ 4-5 คนครับ เพราะว่าจะมีบูธหนึ่งที่ต้องจับกลุ่มไปเพื่อดูดาว และเขาจะแจกไอแพด(ให้ยืม) กันกลุ่มละเครื่อง และเนื่องจากมีจำนวนจำกัดจึงควรไปถ่อน 15 นาที ต่อรอบครับ
และก็จะมีบูธแสดงถึวพระอัจฉริยภาพของร. ๔ และ ร.๙ ซึ่งทำดีครับ

บล็อกแนะนำ

บล็อกดาราศาสตร์ได้รับการแนะนำจากเว็บไซต์ codetukyang.com ว่าเป็นเว็บดีวันนี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีมากครับ ^^

วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อยากเป็นนักดาราศาสตร์ ต้องเรียนอะไร?

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
นักดาราศาสตร์ พระองค์หนึ่งของไทย
หลายคนถามมาว่า ถ้าอยากเป็นนักดาราศาสตร์ต้องเรียนอะไรครับ?
ขอตอบว่า เรียนอะไรก็ได้ ขอแค่ มีความรู้ทางฟิสิกส์หน่อย (ถ้าจะเป็นนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์) เพราะดาราศาสตร์นั้นไม่ต้องเรียนอะไรเยอะแยะ แต่พอได้สัมผัสคุณจะได้ความรู้ที่เยอะ เพราะมีคนบางคนที่จบนิติฯ จบวิศวะฯ จบคอมฯ แต่เป็นนักดาราศาสตร์ที่มีความสามารถได้ ดูตัวอย่างเช่น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงเรียนโหราศาสตร์ และอื่นๆ แต่ก็ทรงทำนายปรากฏการณ์สุริยุปราคา 18 สิงหาคม ได้อย่างแม่นยำ โดยเป็นเวลาล่วงหน้าถึง 2 ปี แม้แต่ฝรั่งก็ยังไม่มีความสามารถเท่าพระองค์
สำหรับพระราชกรณียกิจของพระองค์ผมจะนำเสนอในวันที่ 18 สิงหาคมนี้ ในวันวิทยาศาสตร์ และควรจะเป็นวันดาราศาสตร์แห่งชาติด้วย

จังหวัดใดดวงอาทิตย์ตกหลังสุด?

สืบเนื่องจากที่ผมได้อ่านบทความของ @thanyakij ที่พูดถึงจ.ที่ดวงอาทิตย์ตกทีหลังสุด ซึ่งขอนำเนื้อหามานะครับ
มีคำถามว่า จังหวัดไหนที่เห็นพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าหลังสุด ที่กูเกิลกูรู
หลายคนก็ตอบว่าภูเก็ต (เพราะได้ยินการพยากรณ์พระอาทิตย์ตกที่นี่บ่อยๆ)
แต่แท้จริงแล้วไม่ใช่? มาดูกันครับว่าเพราะอะไร

หลายคนคงเคยเรียนวิชาดาราศาสตร์พื้นฐาน
ที่ว่าแกนโลกทำมุมเอียงกับดวงอาทิตย์ 23.5 องศาโดยประมาณ
ซึ่งทำให้เกิดฤดูกาล ใช่ไหมครับ ?

ทีนี้ ไอ้เพราะแกนเอียงนี่แหละ ที่ทำให้จุดอาทิตย์ลับขอบฟ้าไม่ตรงกันในแต่ละวัน
เริ่มต้นที่ คำถามชื่อเดียวกับเอนทรีนี้ ณ กูเกิลกูรู ที่ถามว่า
จังหวัดไหนที่เห็นพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าหลังสุดค่ะ
มีหลายท่าน เข้าใจไปเอง ว่าแหลมพรหมเทพอยู่ตะันตกสุดของประเทศ
และจะสามารถเห็นพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าเป็นแห่งสุดท้าย.. แต่ว่าไม่ใช่
ผมตัดสินใจตอบว่า บ้านแม่สามแลบ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ด้วยเหตุผลเพียงว่ามันตะวันตกสุด (?)
ใช่ครับ ชื่อทิศมันมีที่มา ทิศตะวันตกมันก็แปลว่าตะวันตกช้ากว่าสิครับ

วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ดาวเคราะห์ดวงใดสวยที่สุด?

ถาม: ดาวเคราะห์ดวงไหนสวยที่สุด?
ร้อยละ 99 จะตอบว่า ดาวเสาร์
ซึ่งตอนแรกผมก็คิดอย่างนั้น
ซึ่งเป็นการคิดผิด

5 อันดับบทความยอดนิยมตลอดกาล