วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บทเพลงจากฟากฟ้า - เดอะ พลาเน็ตส์

หลังจากบทความบทเพลงดาราศาสตร์ที่ได้นำเสนอเพลง ดาวพฤหัสบดี, ผู้นำมาซึ่งความรื่นรมย์ (Jupiter, the Bringer of Jollity) นั้น วันนี้ก็จะนำเพลงในชุดเดียวกับ Jupiter มาให้ฟังกัน
เรามาทำความรู้จักกับผู้แต่งเพลงกันก่อน
บทความที่นำมานี้ผมเขียนขึ้นที่วิกิพีเดียและผมนำมาใช้คงไม่ผิดลิขสิทธิ์นะครับ


     กุสตาฟ โฮลส์ (Gustav Holst) (21 กันยายน ค.ศ. 1874 – 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1934) เป็นนักดนตรีชาวอังกฤษ โดยโอสต์โด่งดังจากเพลงตับ เดอะ พลาเนตส์ โฮสต์เรียนใน Royal College of Music ในกรุงลอนดอน โดยเขาได้แรงจูงใจจาก Grieg, Wagner, Richard Strauss และ Ralph Vaughan Williams ชื่อเต็มของโฮลส์คือ Gustavus Theodor von Holst แต่เขาได้ตัด "von" จากชื่อของเขาเพื่อตอบสนองการต่อต้านเยอรมันในอังกฤษระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 และทำให้เป็นทางการในพินัยกรรมเมื่อปี ค.ศ. 1918
     ประวัติ 
     โฮลส์เกิดในวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1874 ที่บ้านเลขที่ 4 Pittville Terrace (ชื่อในปัจจุบัน:Clarence Road) เมืองเชลันแฮม กลอสเตอร์เชอร์ ประเทศอังกฤษ บ้านของเขาได้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ ในปี ค.ศ. 1974
   ผลงาน
     ผลงานที่ทำให้โฮลส์โด่งดังคือ เดอะ พลาเนตส์ ซึ่งเป็นเพลงตับ มีทั้งหมด 7 เพลงด้วยกันประกอบไปด้วยดาวเคราะห์ 7 ดวงได้แก่ ดาวพุธ, ดาวศุกร์, ดาวอังคาร, ดาวพฤหัสบดี, ดาวเสาร์, ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ซึ่งมีการเรียงลำดับดังนี้

วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ดาวอะไรสว่างที่สุด?


หลังจากหายไปนาน ต้องขออภัยด้วยครับเนื่องจากติดสอวน. เลยแทบไม่มีเวลาเขียน
วันนี้เราจะมาดูกันว่าดาวอะไรสว่างที่สุด ก่อนอื่นปูพื้นกันหน่อย
Magnitude [โชติมาตร] ในบทความนี้จะใช้แบบโชติมาตรสัมบูรณ์ทุกความยาวคลื่น [Absolute Bolometric Magnitude] ซึ่งก็คือโชติมาตรของดาวที่ระยะห่างสมมติ (10 parsec) โดยคิดทุกความยาวคลื่น

ในบทความนี้จะขอแค่ 10 ดวงพอนะครับ ถ้าสนใจเพิ่มเติมดูได้ที่ List of most luminous stars

  1. R136a1 (in LMC)
    โชติมาตรสัมบูรณ์ทุกความยาวคลื่น : −12.5
  2. Cygnus OB2-12
    โชติมาตรสัมบูรณ์ทุกความยาวคลื่น : −12.2
  3. HD 93129A
    โชติมาตรสัมบูรณ์ทุกความยาวคลื่น : −12.1
  4. η Car
    โชติมาตรสัมบูรณ์ทุกความยาวคลื่น : −12.0 
  5. LBV 1806-20 (Middle Model) 
    โชติมาตรสัมบูรณ์ทุกความยาวคลื่น : −12.0
  6. QPM-241
    โชติมาตรสัมบูรณ์ทุกความยาวคลื่น :  −11.9
  7. Pismis 24-1
    โชติมาตรสัมบูรณ์ทุกความยาวคลื่น : −11.8
  8. WR 101e
    โชติมาตรสัมบูรณ์ทุกความยาวคลื่น : −11.6
  9. WR 102ka
    โชติมาตรสัมบูรณ์ทุกความยาวคลื่น :  −11.6
  10. HD 5980
    โชติมาตรสัมบูรณ์ทุกความยาวคลื่น : −11.5
แล้วทำไมเราไม่เห็นดาวเหล่านี้หล่ะ?
เพราะว่ามันอยู่ไกลครับ ที่เราเห็นมันคือโชติมาตรปรากฏ [Apparent Magnitude]
ซึ่งต่อให้ดาวมีความสว่างแค่ไหนแต่ถ้าอยู่ไกล โชติมาตรปรากฏก็จะน้อยครับ
ตัวอย่าง ดวงอาทิตย์ ถ้าบนโลกเราเห็น -26 กว่าๆ ถ้าไปอยู่ที่ระยะ 10 parsec ซึ่งก็คือความสว่างสัมบูรณ์ จะเหลือแค่ 4

วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554

มอบกำลังใจให้ผู้ประสบอุทกภัย


ทางเว็บดาราศาสตร์ก็ขอมอบกำลังใจให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วมด้วยภาพ'เนบิวลาดอกกุหลาบ'สวยๆ ครับ
เพื่อให้มีกำลังใจในการต่อสู้ต่อไปครับ

▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬(۩۞۩)▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬­­­­­­­­­▬
ขอบคุณภาพจาก http://apod.nasa.gov
▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬(۩۞۩)▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬­­­­­­­­­▬

น้ำท่วมทำอะไรดี?


หลายท่านคงเจอกับวิกฤตการณ์น้ำท่วมนะครับ
ก็ขอเป็นกำลังใจให้

แล้วน้ำท่วมอยู่จะทำอะไรดีละ?
มีกิจกรรมบางอย่างครับที่เหมาะกับเวลานี้และได้ความรู้ด้วย
ถ้าเอาแต่นั่งเครียดจะได้อะไร? มาทำกิจกรรมกันเถอะ

อันแรกครับ ผมเพิ่งนึกออก มันคือปรากฏการณ์ดอพเพลอร์ [Doppler effect]
คือมันเป็นการหาค่าการเลื่อนทางแดง/ทางน้ำเงินนั่นเอง

หลายคนจะจำๆ เอาว่าทำไมมันเลื่อนไปทางแดงก็คือวิ่งหนี้ ส่วนทางน้ำเงินก็วิ่งหา
มันจำเกินไป เราไม่เอา มันไม่เข้าใจ

ภาพขวาครับ ภาพเป็ดหรือห่านหรือหงส์หรือ-่าอะไรผมก็ไม่แน่ใจ :)
เห็นไหมครับว่าคลื่นตรงข้างหน้ามันจะบีบอัดเข้ามา
ซึ่งมันอธิบายได้ง่ายๆคือว่า
ณ เวลาที่ 1 วัตถุปล่อยคลื่นออกมาปุ๊บ คลื่นก็จะยังเป็นวงกลม
พอ เวลาที่ 2 วัตถุเคลื่อนที่แล้วก็ปล่อยคลื่นมันก็จะใกล้กับขอบอันแรกมากขึ้น
อ่านแล้วงงใช่ไหมครับ?
มาดูวิดีโอกัน

วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ปรับปรุงบล็อกใหม่


หลายๆท่านที่เข้ามาดูอาจจะเห็นหน้าเว็บเปลี่ยนไป
เพราะติดเครื่องมือ+โฆษณาอาจจะทำให้เกะกะตาบ้าง
ต้องขออภัยครับ

เพราะทางบล็อกกำลังหาทุนเพื่อจะเช่าเซิร์ฟเวอร์เพื่อจะทำเป็นเว็บไซต์อย่างครบวงจรต่อไป(อ่านได้ที่นี่)

ซึ่งหากท่านใดมีข้อเสนอแนะใดๆก็แนะนำมาได้ครับ แล้วก็ถ้าเราสามารถเช่าเซิร์ฟเวอร์ได้แล้วโฆษณาก็จะไม่รกหูรกตาทุกท่านอีกแล้วครับ :)

วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ตารางอบรมสอวน.ดาราศาสตร์จุฬาฯ


ตารางอบรมสอวน.
ดาราศาสตร์ จุฬาฯ
ม.ต้น
10 ปฐมนิเทศ และคณิตศาสตร์พื้นฐาน
11-12 ดาราศาสตร์ทรงกลม
13-14 ดาราฟิสิกส์
15-16 ดาวเคราะห์และการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์

ม.ปลาย
10 ปฐมนิเทศ และคณิตศาสตร์พื้นฐาน
11-12 ดาราฟิสิกส์
13-14 ดาราศาสตร์ทรงกลม
15-16 CM and cosmo

วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ประกาศผลสอวน.ดาราศาสตร์ ศูนย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2554


ประกาศผลสอวน.
วิชา ดาราศาสตร์
ศูนย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประจำปี 2554
เข้าค่าย+ปฐมนิเทศ วันที่ 10 ตุลาคม 2554


สามารถตรวจสอบรายชื่อได้ที่
https://docs.google.com/viewer?a=v&pid=explorer&chrome=true&srcid=0BxmbG5DME8K7NTkxZDkwZWMtODgzZC00NmJmLWEyNzctNzllZDUyNzIwNGQx&hl=en&pli=1


ตรวจสอบเพื่อความแน่ใจได้ที่
Facebook CU Astro Club


วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2554

[ทิป] สร้างภาพสุริยุปราคาด้วยตนเอง


ภาพสุริยุปราคาบนหัวเว็บ หลายคนอาจนึกว่าเป็นภาพถ่ายจริง

แต่ผมทำจาก Photoshop ครับ!

ถ้าใครอยากทำบ้างก็ดูวิดีโอด้านล่างได้เลยครับ
ใช้เวลาประมาณ 3 - 4 นาทีเท่านั้นเอง!!!

ลองทำแล้วมาอวดกันนะครับ!

5 อันดับบทความยอดนิยมตลอดกาล